การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง” มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาโครงสร้างของไตรภูมิและปัจจัยที่มีต่อการพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิกถา และ (๒) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบในการพัฒนาสื่อนวัตกรรมให้สอดคล้องกับสังคมไทยปัจจุบัน การวิจัยเป็นแบบการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ไตรภูมิ หมายถึงอบายภูมิ มนุสสภูมิ และสัคคภูมิ ที่สัตว์โลกจะต้องวนเวียนไปเกิด หากทำดีตายแล้วจะไปเกิดในมนุสสภูมิหรือสัคคภูมิ หากทำชั่วตายแล้วจะไปเกิดในอบายภูมิ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพระมหาธรรมราชา ลิไทยให้ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถา ประกอบด้วย ระบบการเมืองการปกครองแบบธรรมิกราชา คลื่นพระพุทธศาสนาที่เข้าสู่ประเทศไทยพร้อมกับศิลปกรรมและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่อิงหลักการเพื่อความดีงามของสังคม ปัจจัยทุกด้านเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างอินเดีย ลังกา พม่า และไทย ในยุคสมัยนั้น ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยแต่ละด้าน ตลอดจนอิทธิพลของไตรภูมิกถาทุกด้านที่มีต่อสังคมไทยในสมัยต่อ ๆ มาด้วย ในตอนท้ายได้แสดงตัวอย่างการสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมในไตรภูมิกถาเพื่อนำมาใช้กับสังคมไทยปัจจุบัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
_________ . อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
กรมวิชาการ. สุโขทัย รุ่งอรุณแห่งความสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
กรมศิลปากร. เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ. กรุงเทพมหานคร: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๙.
_________ .ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์พญาลิไทย. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๕.
_________ . รายงานผลการวิจัยเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๒.
_________ . ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๒๖.
ทรงวิทย์ แก้วศรี. พุทธสถานในนานาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมพุทธศาสน์, ๒๕๒๐.
ธิดา สาระยา. (ศรี) ทวารวดี ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๘.
เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๓.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). ความรู้ความเข้าใจและข้อปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักไตรภูมิพระร่วงของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม, ๒๕๕๑.
_________ . พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๗. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๕๙.