รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา

Main Article Content

Thanasarn Ballangpattama

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ๒) พัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ ๓) ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ผลการวิจัยพบว่า ๑) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก และ ๑๐ องค์ประกอบย่อย ๒) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “MSMM Model” โดยเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างและวิธีการบริหารงานตามขอบข่ายและภารกิจด้านการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม ตามแนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกปาลธรรม และการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก และ ๑๐ องค์ประกอบย่อย  โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดโรงเรียนคุณธรรม หลักโลกบาลธรรม และการบริหารโรงเรียน และ ๓) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๗ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้น


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม
แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔). กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๙.
. คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙-
๒๕๖๔). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๖๐.
ธัญญรัตน์ บัวพันธ์. การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ
ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
ประภาพร จันทรัศมี. การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางคุณธรรม
จริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๙.
ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน). ศูนย์คุณธรรม เสนอ 2 แนวทางพลิกฟื้นคืนคุณธรรมให้สังคม
ไทยต้อนรับฟ้าใหม่ พร้อมงานการพัฒนาคุณธรรมในศตวรรษที่ ๒๑, ๒๕๕๗
สืบค้นเมื่อ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๒ จาก http://www.hooninside.com/news-detail.php?id
=374804
. โครงการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ภาคกลาง ระหว่างวันที่
๒๘ พฤศจิกายน – ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : มปพ., ๒๕๕๙.
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ. แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ,
๒๕๖๐.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, .๒๕๕๙.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. แนวทางการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม
สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ : มปพ., ๒๕๕๙.
สุวิทย์ ภาณุจารี. การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นครปฐม : นิติธรรม, ๒๕๖๓.
Gong Zhen-sheng. “On Model of Moral Education in American Schools Today. Journal of
Teachers College Qingdao University. 26 (2) : pp. 17-20, June 2009.
Hideki Maruyama Moral Education in Japan, 2013. Retrieved March 1, 2019, From https://
www.nier.go.jp/English/educationjapan/pdf/201303MED.pdf.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W.. Determining Sample Size for Research Activities. Educational
And psychological measurement, 30(3) : pp. 607-610, September 1970.