การบูรณาการการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระมหาชูชาติ จิรสุทฺโธ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการสื่อสารและสื่อออนไลน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยปัจจุบัน และเพื่อเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการลงภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันอย่างสะดวกรวดเร็วและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีหลักการและวิธีการที่ใช้ในการเผยแผ่ประกอบไปด้วย 1) การสอนแบบสากัจฉาหรือการสนทนา 2) การสอนแบบบรรยาย 3) การสอนแบบตอบปัญหา และ 4) การสอนแบบวางกฎข้อบังคับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกลวิธีหรือเทคนิคในการสื่อสารไม่ว่าจะผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการหลายวิธีในการสื่อสารทั้งวิธีการพูด วิธีการเขียน เป็นต้น จะต้องมีพุทธวิธีในการสื่อสารโดยเริ่มจากปรัชญาขั้นพื้นฐานสำคัญในการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทำให้เข้าใจกระบวนการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ เช่น Facebook, Youtube เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องมีการยกย่อง ส่งเสริม หรือถ่ายทอดแนวปฎิบัติที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมถือเป็นการส่งต่อการสืบสานด้านพระพุทธศาสนาที่จะช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปคู่สังคมไทยตลอดกาลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. แผนการกู้อิสรภาพของเจ้าชายสิทธัตถะ. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, 2537.

ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร รศ..พระพุทธศาสนาในศรีลังกา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : หจก. เชน ปริ้นติ้ง, 2551.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตโต).ขอบฟ้าแห่งความรู้. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2548.

พระครูวินัยธรจักรีศรีจารุเมธีญาณ. สัญญาเคณาภูมิและวิทยาเจริญศิริ.“บทบาทพระสงฆ์ไทยในสังคมยุคโลกาภิวัตน์”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1, มกราคม-เมษายน 2559. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจิตต์ วันจันทร์), พุทธปรัชญา, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.

ดาณุภา ไชพรธรรม.เทคโนโลยีดาบสองคม. กรุงเทพมหานคร: มายิกสำนักพิมพ์,2556.