การพัฒนาองค์กรในการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารการศึกษา ด้านพระพุทธศาสนาของบัณฑิตวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาองค์กรในการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารการ ศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของบัณฑิตวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีและวิธีการการบริหารการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของบัณฑิตวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์กรในการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของบัณฑิตวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิชาการและก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามกรอบพันธกิจทั้ง 6 ด้าน ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านการผลิตบัณฑิตนิสิตต้องมีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและมีจิตใจที่ดีงาม, ด้านการวิจัยส่งเสริมการทำวิจัยทั้งนิสิตและคณาจารย์, ด้านบริการวิชาการแก่สังคมจัดประชุมสัมมนาเพื่อเผยแผ่ความรู้แก่สังคม, ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน, ด้านพัฒนาบุคลากรให้มีตำแหน่งทางวิชาการ,และด้านบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสังคมโดยการส่งเสริมองค์กรให้มีความก้าวหน้าก้าวสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. (ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544).กรุงเทพมหานคร : อรรถพลการพิมพ์, 2539.
ทองดี ศรีตระการ.การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ ปี 2562.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.). กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานประจำปี 2554 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2555.
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 51 ก. ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2540.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, [ออนไลน์] แหล่งข้อมูล : http://www.mcu.ac.th/site/curriculum.php, (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555).
บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, แผนบริหารความเสี่ยงของส่วนงานบัณฑิตวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และ 2552.
เกษม วัฒนชัย. “ธรรมาภิบาล.บทบาทสำคัญกรรมการสถานศึกษา.” รายงานการปฏิรูปการศึกษาไทย, 15 เมษายน 2546.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยรายวันการพิมพ์,2551.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,2546.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.