การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม

Main Article Content

สุภีร์ ทุมทอง
พระธรรมวชิรเมธี
พระมหาวัฒนา ปญฺณาปทีโป
ชัยชาญ ศรีหานู
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาคัมภีร์เนตติปกรณ์ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์
(3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา ผลการวิจัยพบว่า เนตติปกรณ์เป็นคัมภีร์ที่แสดงหลักการอธิบายพุทธพจน์ด้านพยัญชนะและอรรถะ เพื่อให้เข้าใจอริยสัจ 4 ที่อยู่ในพระพุทธพจน์ ซึ่งนำเวไนยสัตว์เข้าสู่นิพพาน โครงสร้างเนื้อหาของคัมภีร์มี 3 ส่วนคือ (1) หาระ 16 เป็นหลักการอธิบายพระพุทธพจน์ด้านพยัญชนะ (2) นยะ 5 เป็นวิธีการนำเนื้อความอริยสัจ 4 ออกแสดง (3) สาสนปัฏฐาน 16 และสาสนปัฏฐาน 28 เป็นหลักการจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์โดยอาศัยเนื้อหาสาระเป็นสำคัญโดยมีมูลบท 18 เป็นฐานในการประกอบเข้ากับอริยสัจ การอธิบายตามแนวเนตติปกรณ์ คือ (1) อธิบายพยัญชนะโดยการประกอบหาระ 16
(2) พิจารณาทิศทางของธรรมทั้งฝ่ายสังกิเลสและโวทานจากการอธิบายด้านพยัญชนะด้วยทิสาโลจนนัย (3) ยกหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกันมาเพื่อใช้ในการอธิบายด้วยอังกุสนัย (4) อธิบายเนื้อความแยกธรรม 2 ฝ่ายให้ชัดเจนแล้วสรุปลงอริยสัจ 4 ด้วยนัย 3 ได้แก่ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัยและสีหวิกกีฬิตนัย ส่วนการจัดหมวดหมู่ด้วยสาสนปัฏฐานทำให้เข้าใจเนื้อหาพุทธพจน์ทำให้การอธิบายด้านหาระและนยะได้สะดวกยิ่งขึ้น  เมื่ออธิบายตามนัยเนติปกรณ์ทำให้เกิดความมั่นใจคือ (1) พยัญชนะไม่ผิดพลาด  (2)  อรรถะไม่ผิดพลาด การอธิบายไม่ออกนอกแนวอริยสัจ 4 ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ถือเป็นรูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ที่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต้องศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เนตฺติ-เปฏโกปเทสปกรณํ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๔๐.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เนตฺติอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.