ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการล่วงละเมิดพระวินัย ของภิกษุฉัพพัคคีย์กับพระสงฆ์ในปัจจุบัน

Main Article Content

ณัฐกานต์ อินต๊ะวัน
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการล่วงละเมิดพระวินัยของภิกษุฉัพพัคคีย์กับพระสงฆ์ในปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการบัญญัติพระวินัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการล่วงละเมิดพระวินัยของภิกษุฉัพพัคคีย์ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการล่วงละเมิด พระวินัยของภิกษุฉัพพัคคีย์โดยมี ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การบัญญัติพระวินัยนี้มีด้วยกัน 2 ประเภท 1) ต้นบัญญัติ คือ เรื่องภิกษุผู้เป็นอาทิกัมมิกะ 2) พระบัญญัติ คือ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้ภิกษุล่วงละเมิด มีบทกำหนดโทษ ถ้ามีการบัญญัติเพิ่มเติมในสิกขาบทเพื่อให้เกิดความรัดกุมขึ้นสิกขาบทที่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมนั้นเรียกว่า อนุบัญญัติ พระวินัยซึ่งเป็นพุทธบัญญัตินี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) อาทิพรหมจริยกาสิกขา หมายถึง หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติ 2) อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึง ขนบธรรมเนียมความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงาม พฤติกรรมของพระสงฆ์ในปัจจุบัน มีทั้งตั้งใจล่วงละเมิดและประมาทพลาดพลั้งอาจมีสาเหตุจากการศึกษาพระวินัย เพราะบวชในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงอาจทำให้อาจาระไม่น่ามอง ไม่สำรวมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการละเมิดอาบัติหนัก อาจด้วยสาเหตุว่า ฆราวาสทำได้ และด้วยเหตุผลของการเข้ามาบวชมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนบวช ควรมีการศึกษาข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติสำหรับบรรพชิต เจ้าอาวาส และพระพี่เลี้ยง ควรให้ความรู้และเข้าใจในจารีตธรรมเนียม ประเพณี พระวินัย กฎและระเบียบพระภิกษุเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนผู้พบเห็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์. ธรรมานุศาสน์ หนังสือระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ป, ม.ป.พ.
ธนาตย์ คุณภัทรวรกิจ. “การกำหนดความรับผิดทางอาญาของพระภิกษุสามเณร”. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๗.
พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณและคณะ. “บทบาทพระสงฆ์ไทยในสังคมยุคโลกาภิวัตน์”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (ม.ค.-มิ.ย. ๒๕๕๙).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๕๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก, ๒๕๖๒.
พระมหาอเนก มหคฺฆปญฺโ. “การศึกษาวิเคราะห์การล่วงละเมิดพระพุทธบัญญัติของภิกษุฉัพพัคคีย์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
พุทธทาส ภิกขุ, ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขใจ, ๒๕๓๙.
พศุตม์ ขอดเมชัย. ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ล่วงละเมิดสิกขาบทของกลุ่มพระฉัพพัคคีย์. วารสารปัญญาปณิธาน. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๒).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
แสวง แสนบุตร. “วิเคราะห์บทบาทของพระฉัพพัคคีย์ต่อการบัญญัติวินัยของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท”. งานวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๖.