การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ ๕ ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์

Main Article Content

panu akarayanyong
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 ในคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคำสอนเรื่องขันธ์ 5 ในคัมภีร์พุทธศาสนา เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องขันธ์ 5 ตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ 5 ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ขันธ์ 5 คือองค์ประกอบของร่างกายที่ประกอบมาจากรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่ 1) รูปขันธ์ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมของร่างกาย 2) เวทนาขันธ์ การรับรู้หรือการเสวยอารมณ ความรูสึก ที่เกิดจากการสัมผัสทางประสาททั้ง 5 และทางใจ 3) สัญญาขันธ์ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การประเมินข้อมูล 4) สังขารขันธ์ สิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดเจตนาในการกระทำทางกาย, วาจา ใจ ให้ดี หรือให้ชั่ว หรือเป็นกลาง 5) วิญญาณขันธ์ การรูแจงอารมณ์ ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจจากปัจจัยภายนอกทั้งหลายที่เข้ามากระทบ ขันธ์ 5 ตามทัศน ของวิทยาศาสตร์ กล่าวถึงพัฒนาการกําเนิดมนุษย์เป็นการเจริญเปลี่ยนแปลงตามลําดับของกายมนุษยตั้งแตเริ่มแรกที่เริ่มมีการปฏิสนธิ ขันธ์ 5 ทั้งในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและทัศนะทางวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องสามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายเรื่องของร่างกาย หรือขันธ์ 5 ได้ และอธิบายความเป็นอนัตตาของขันธ์ 5 ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญณรงค์. โครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://sites.google. com/site/charnnarongk009/. [๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓].
นภา ตั้งเตรียมจิตมั่น. ธาตุต่างๆในร่างกายของเรา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www. uniserv.buu.ac.th/forum2/. [๑ มกราคม ๒๕๖๔].
พรพิมล จอโภชาอุดม. แนวคิดเรื่องวิญญาณเชิงพุทธปรัชญา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่น, ๒๕๔๒).
วรรณสิทธ์ ไวทยะเสวี. พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และ นิพพาน ปรมัตถ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพลส จำกัด.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ระบบอวัยวะ. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/. [๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓].
ศาสตราจารย์ ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน. เรื่องของเซลล์มนุษย์และสเต็มเซลล์. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕. หน้า ๖-๗.
ศุภกาญจน์ วิชานาติ. การศึกษาเปรียบเทียบรูปขันธ์กับความจริงทางวิทยาศาสตร์. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๑.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก, ๒๕๖๑).
อำนาจ เจริญศิลป์. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๒).
Montriscience. สสาร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/montri- science/ssar. [๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓].
Pobpad. การปฏิสนธิเป็นอย่างไร เกิดขึ้นตอนไหน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. pobpad.com/. [๑ มกราคม ๒๕๖๔].