ศึกษาเปรียบเทียบสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะของพระสงฆ์เถรวาท ในประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐวุฒิ รอดวงค์ศา
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะของพระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับโลกวัชชะในสังคมไทย เพื่อศึกษาสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และเพื่อเปรียบเทียบสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะของพระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การบวช เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา มีจุดหมายเพื่อเป็นศาสนทายาท สืบทอดศาสนา และปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย บางท่านปฏิบัติบรรลุเป้าหมายคือพระนิพพาน บางท่านกำลังศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย บางครั้งมีการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเพราะเป็นปุถุชน ทั้งความผิดที่เป็นปัณณัติวัชชะ และโลกวัชชะ โลกวัชชะนั้นเป็นความเสียหายที่ชาวโลกติเตียน ไม่ยอมรับ ไม่เหมาะสม ถูกลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองหรืออาจจะไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่ก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธา สาเหตุการละเมิดจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลงการใช้สอยปัจจัย 4 ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของสังคม การล่วงละเมิดจึงเกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาต้องมีการแก้ไขทั้งองคาพยพองค์กรทั้งพระสงฆ์ต้องมีมาตรการควบคุมดูแลเข้มงวดกวดขัน ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่พระสงฆ์ ภาครัฐ มีกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครอง ปกป้องศาสนา ภาคประชาชน ต้องมีการให้ความรู้ที่เกี่ยวกับพระศาสนาที่ถูกต้อง ช่วยกันสอดส่องดูแลและบำรุงรักษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คนึงนิตย์ จันทบุตร, สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, ๒๕๓๒.
นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร, อโคจรในพระวินัยปิฎกกับสังคมไทยปัจจุบัน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ ๔ (ฉบับที่ ๒).(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑.
พระนิทัศน์ ธีรปญฺโญ, (วงศ์วังเพิ่ม) พระภิกษุไทยกับการขับขี่ยานพาหนะ วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกฉียงเหนือ. ปีที่ ๑๐ (ฉบับที่ ๓).(กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๓.
พศุตม์ ขอดเมชัย. ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจให้ล่วงละเมิดสิกขาบทของกลุ่มพระฉัพพัคคีย์. วารสารปัญญาปณิธาน, ปีที่ ๔ (ฉบับที่ ๒).(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโ, “วินัย: กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม”, มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรราชวิทยาลัย, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.mcu.ac.th/article/14271 [ ๒๐ ส.ค. ๒๕๖๓]
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.