ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาอานาปานสติในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาไตรลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า อานาปานสติ คือ สติที่ทำหน้าที่กำหนดรู้และกำกับลมหายใจเข้าออก เป็นสมถยานิก คือ การเจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า อานาปานสติมีวิธีปฏิบัติ ๑๖ ขั้นแบ่งเป็น ๔ หมวดตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ส่วนไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑) อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นแล้วแตกสลายไป ๒) ทุกขัง เป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นให้คงเดิมไม่ได้ ๓) อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาไม่ได้ ไตรลักษณ์เป็นความจริงที่มีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง แต่มีสิ่งปกปิดไว้ ได้แก่ สันตติคือความสืบเนื่องกัน อิริยาบถคือการเคลื่อนไหว และฆนสัญญาคือความเห็นว่าเป็นกลุ่มก้อน การเห็นไตรลักษณ์ได้ต้องอาศัยปัญญาจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอานาปานสติกับไตรลักษณ์ แสดงให้เห็นลักษณะของลมหายใจเข้าออกที่เกี่ยวข้องกับลักษณะ ๓ ประการ โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจน คือ อานาปานสติขั้นที่ ๑๓-๑๖ แสดงวิธียกอารมณ์สมถะขึ้นสู่วิปัสสนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับไตรลักษณ์อย่างชัดเจน ทำลายความเห็นที่เป็นอัตตา มีอานิสงส์สูงสุดคือบรรลุพระนิพพาน นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมากมาย ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทำให้ชีวิตประจำวันอยู่อย่างเป็นสุข
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
_________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). การยกอารมณ์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ตามแนวอานาปานสติภาวนา. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๖๒.
พระเทพปริยัติมุนี (มีชัย วีรปโ). มหานมัสการ มหาพลานุภาพที่คาดไม่ถึง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๖๒.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๕๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๖๒.
จิรวัฒนา พุ่มด้วงและคณะ. “การเพิ่มศักยภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในการใช้หลักอานาปานสติของนักศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษานักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ”. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม–ธันวาคม ๒๕๖๒): ๔๑-๕๓.
อมรรัตน์ บางแสงอ่อน. “ผลของการฝึกสมาธิตามพุทธวิธี โดยกำกับลมหายใจแบบอานาปานสติต่อความเจ็บปวดและความสามารถในการดูแลตนเองในหญิงผ่าตัดคลอดบุตรครรภ์แรก”. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๖.
อรวรรณ จันทร์มณี. “ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อระดับสมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น”. วารสารพยาบาลตำรวจ. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗): ๕๖-๗๐.
อาภรณ์ สิงห์ชาดา กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และสมใจ นกดี. “ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของผู้สูงอายุ”. วารสาร มฉก.วิชาการ. ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๓๘ (มกราคม- มิถุนายน ๒๕๕๙): ๔๙-๖๐.