วิเคราะห์การพัฒนาชีวิตตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิเคราะห์การพัฒนาชีวิตตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาชีวิตตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และเพื่อวิเคราะห์การพัฒนาชีวิตตามหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ชีวิตของมนุษย์เป็นสภาพที่สามารถฝึกฝนพัฒนาตนเองได้ การพัฒนาชีวิตมนุษย์ จากบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณที่ว่า “อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ” เน้นย้ำหลักการฝึกฝนพัฒนาชีวิตจนถึงขีดความสามารถสูงสุดด้วยการพัฒนาจากภายใน ทั้งทางด้าน กาย อารมณ์ และ จิตใจ ซึ่งกระบวนการพัฒนาจะต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กัน 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนากาย 2) การพัฒนาสังคม (ศีล) 3) การพัฒนาจิต 4) การพัฒนาปัญญา เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของมนุษย์ ซึ่งสามารถฝึกให้รู้แจ้งธรรมได้ พระพุทธศาสนาใช้วิธีการแห่งสิกขา ซึ่งแปลว่า การศึกษา หมายถึงการพัฒนาพฤติกรรม ได้แก่ข้อปฏิบัติสำหรับการพัฒนากาย วาจา ใจ ให้เจริญงอกงาม จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นหรือนิพพาน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระปลัดธัญวัฒน์อโสโก (รักษ์เพ็ชร). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา ๔ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์, ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓): ๓๖.
พระสมศักดิ์ สนฺตวาโจ (สนธิกุล). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
พิชญรัชต์ บุญช่วย. “การศึกษากระบวนการสร้างภาวนา ๔ โดยใช้หลักไตรสิกขา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙.
พระพุทธินันทน์ บุญเรือง. “การพัฒนาาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืนตามหลักพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
พิทยา ศรีโกตะเพ็ชร. “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์: ศึกษาเฉพาะกรณีการพัฒนาคนตาบอดในสังคมไทยปัจจุบัน” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๕.