ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอาสีวิโสปมสูตร

Main Article Content

พระสมหมาย สมสิทฺโธ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอาสีวิโสปมสูตร และ วิเคราะห์แนวทางการเจริญวิปัสสนาภาวนาในอาสีวิโสปมสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากไตรปิฏกและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ อาสีวิโสปมสูตรเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุปมาสภาพธรรมทั้งหลายเชิงให้เห็นโทษเพื่อชักนำให้พระภิกษุ ๕๐๐ รูปที่ได้ฌานเพื่อพัฒนาจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณ เพื่ออริยมรรค อริยผล เป็นพระสูตรที่เกิดจากอัธยาสัยของพระพุทธเจ้าจัดอยู่ในประเภท สุตตะ ทรงใช้หลักการอุปมาแบบสัททคัมมูปมา เนื้อหาของพระสูตรมีความย่อว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่ได้ฌานสมาบัติ และทรงเล่าเรื่องชายคนหนึ่งถูกอสรพิษทั้ง ๔ ไล่ล่า (มหาภูตรูป ๔) วิ่งหนีไปพบเพชรฆาต ๕ คน (ขันธ์ห้า) ตามล่าอีก และเจอสายลับ (นันทิราคะ) ที่เดินทางติดตามมาเพื่อฆ่าตลอดเวลา จึงพบบ้านร้าง (อายตนะภายใน ๖) จึงหนีไปพบห้วงน้ำใหญ่ (โอฆะ ๔) และเห็นว่าฝั่งนี้ (สักกายะ) ไม่ปลอดภัยจึงทำแพ (อริยมรรคมีองค์ ๘) ด้วยความเพียรพยายามด้วยการเกาะแพแล้วใช้มือและเท้าต่างพายเพื่อหนีภัยข้ามไปยังฝั่งโน้น (นิพพาน) เนื้อหาทั้งหมดทำให้เห็นภาพของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้อย่างชัดเจน พระสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูปน้อมจิตตามลำดับคำสอนเจริญวิปัสสนาภาวนาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี(ว.วชิรเมธี), การจัดการกิเลส, พิมพ์ครั้งที่ ๒, นนทบุรี: สำนักพิมพ์ปราณ, ๒๕๕๕.
พระจำลอง สุภาจาโร “ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏบานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท: ศึกษาเชิงวิเคราะห์”, วารสารพุทธมัคค์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๙).
สมพรนุช ตันศรีสุข.“ทัศนะของพระพุทธเจ้าต่อการเล่าเรียนพระธรรมวินัยจากอุปมาจับงูพิษในอลคัททูปมสูตร”,วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๒).