ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัฎฐังคิกสูตร

Main Article Content

พระภัทรพล วิสุทฺโธ

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัฏฐังคิกสูตร” นี้ มีวัตถุประสงค์
2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในอัฎฐังคิกสูตร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาใน อัฎฐังคิกสูตร โดยธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการวิจัยพบว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนาใน
อัฏฐังคิกสูตร เป็นการปฏิบัติตามหลักมรรคสัจจ คือ การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์แล้ว ย่อมทำให้เกิดความบริสุทธิ์แห่งวิสุทธิ 7 คือ สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคญาณทัสสน วิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสน
วิสุทธิ ย่อมทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งในอริยสัจ คือ มรรค ผล นิพพาน ได้ในที่สุด พระพุทธเจ้าทรงแบ่งบุคคลออกเป็น 2 จำพวก สัตบุรุษ บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้ดำเนินชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ 8 และ อสัตบุรุษ บุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ดำเนินชีวิตไปในทางมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีหิริ โอตตัปปะ ทรงตรัส ว่า “วิชชา” คือ ประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทำให้มีหิริ โอตตัปปะ และอริยมรรคอื่นก็มีตามมาด้วย การเจริญวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ต้องมีสัมมาสติ คือมีสติ สมาธิ และปัญญา พิจารณาในฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับเดิม, พิมพ์ครั้งที่ ๘, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๗, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำจัด, ๒๕๔๘.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ), อริยวังสปฏิปทา, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ), อริยวังสปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นวงศ์ พระอริยเจ้า, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๕๔.