ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัจฉราสูตร

Main Article Content

พระมหาสุบิน สุนฺทรธมฺโม
พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัจฉราสูตร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอัจฉราสูตร เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัจฉราสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า อัจฉราสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยนางอัปสร โดยกล่าวถึงพระภิกษุที่ได้มรณภาพลงในขณะเดินจงกรม แล้วไปเกิดเป็นเทวดาท่ามกลางนางอัปสร และเสียดายโอกาสที่จะบรรลุธรรมชั้นสูง จึงได้เข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเรื่องป่าน่าหลงใหล กึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสรและหมู่ปีศาจ ว่าจะออกจากป่านี้ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสธรรมเปรียบกับรถว่า ไม่มีเสียงดัง เพราะมีล้อคือธรรม หิริเป็นฝาประทุน สติเป็นเกราะกั้น หากคนขับรถมีสัมมาทิฏฐิ เมื่อรถนี้อยู่กับผู้ใด ผู้นั้นย่อมใกล้นิพพาน หลักธรรมสำคัญในอัจฉราสูตรประกอบด้วย ธรรมคือความเพียร หิริ สติ และสัมมาทิฏฐิ เมื่อเทวดาฟังธรรมจบจึงได้บรรลุพระโสดาบัน การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัจฉราสูตร มีหลักธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติ ๔ ประการ คือ ๑) ความเพียร หรือวิริยะ คือ การใช้ความเพียรในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ตึงไปและไม่หย่อนไป ๒) หิริ คือ ความละอายต่อบาปอกุศลทุกชนิด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาควรมีธรรมนี้ เพราะเป็นธรรมที่ช่วยให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ๓) สติ คือ พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริงใช้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ๔) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ก่อให้เกิดมรรคองค์อื่นตามมา เช่น สัมมาสมาธิ เป็นต้น เมื่อมรรคทั้ง ๘ ประการบริบูรณ์จะช่วยชำระจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองให้สะอาดผ่องใสจนสามารถพัฒนาอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และให้เจริญเต็มที่จนสามารถบรรลุมรรค ผล และนิพพานได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระมหาไพรัชน์ ธมฺมทีโป. การบูรณาการโยนิโสมนสิการสู่การศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม- ธันวาคม ๒๕๕๘.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ๒๕๕๖.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วรรณสิทธิ ไวทยธเสวี รวบรวม. คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๒. กรุงเพทหานคร : มูลนิธิแนบมหานีรานนท์. ๒๕๔๗.