ศึกษาการสอนและการสอบอารมณ์กรรมฐานการปฏิบัติสุทธวิปัสสนา ตามหลักบันได ๗ ขั้น ของพระภาวนาพิศาลเมธี วิ.
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการสอนและการสอบอารมณ์กรรมฐานการปฏิบัติสุทธวิปัสสนาตามหลักบันได ๗ ขั้น ของพระภาวนาพิศาลเมธี วิ.”
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติบันได ๗ ขั้น ในการเจริญสุทธวิปัสสนาแนวพองยุบ เพื่อศึกษาการสอนและสอบอารมณ์กรรมฐานการปฏิบัติสุทธวิปัสสนา และเพื่อศึกษาการสอนและสอบอารมณ์กรรมฐานการปฏิบัติสุทธวิปัสสนาตามหลักบันได ๗ ขั้น ของพระภาวนาพิศาลเมธี วิ. โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย เชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การเจริญสุทธวิปัสสนาตามหลักบันได ๗ ขั้น
เป็นหลักสูตรที่ใช้ในการสอนปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ที่ได้นำแนวทางปฏิบัติสุทธวิปัสสนาแนวพองยุบมาจัดแบ่งลําดับเป็นการเจริญวิปสสนา ๗ ขั้นตอน ตามสภาวะปัญญาในการเห็นรูปนามตามความเป็นจริง รู้ถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนาม เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตนของรูปนาม จนรู้สึกว่ารูปนามเป็นโทษเป็นภัย จึงเกิดความเบื่อหน่ายอยากพ้นไป เกิดปัญญาวางเฉยต่อรูปนามนั้น จนถึงขั้นสลัดคืนรูปนามขันธ์ ๕ เข้าสู่นิพพาน หลักบันได ๗ ขั้นนี้ อ้างอิงหลักธรรมต่าง ๆ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๑๖ วิสุทธิ ๗ อนุปสสนา ๗ ปริญญา ๓ และการพิจารณาธรรมตามแนว
อานาปานสติ ขั้นที่ ๑๓–๑๖ และบูรณาการเทคนิคพิเศษของแต่ละสำนัก ของครูบาอาจารย์ในสายพองยุบที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาอินทรีย์ มาเป็นแนวการสอนและการสอบอารมณ์ ๗ ขั้นตอน
โดยมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติมีการพัฒนาอินทรีย์ได้รวดเร็ว เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณที่สมบูรณ์ที่สมบูรณ์
จนบรรลุมรรคผลตามที่มุ่งหมาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ.๘): วิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้เป็นพระพุทธเจ้ากรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๖๒.
________. ลำดับการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แนวธรรมานุสารี. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, ๒๕๖๔.
________. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัมมนาวิปัสสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๙. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๖๐.