การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม (2) เพื่อศึกษาหลักการที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม (3) เพื่อนำเสนอการอยู่ร่วมกันของคนสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือการศึกษากระบวนการให้การศึกษาระดับขั้นพื้นฐานช่วยให้เด็กและเยาวชน ประชาชนเข้าใจและยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของความเป็นชนกลุ่มน้อย ด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อ
- หลักการที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม คือการร่วมกันของชุมชนชาวพุทธ คือการให้ทาน พูดจาที่ไพเราะ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ชุมชนชาวอิสลามส่งเสริมให้มีการพัฒนาเปิดกว้างแต่ละชุมชนสู่สังคมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ทุกคนในสังคมหันมาเข้าใจความแตกต่าง และสนใจเรียนรู้ความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่ 3. การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี คือชุมชนชาวพุทธ ส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชน การสงเคราะห์แก่อุบาสกอุบาสิกาในชุมชนรอบวัด ชุมชนชาวอิสลามส่งเสริมการเรียนการสอนพิเศษในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีด้วยการทำความสะอาดบริเวณส่วนรวม และให้ทำความสะอาดครัวเรือนของตนเอง ต้องการผู้นำที่ปฏิบัติตามหลักการศาสนาอย่างจริงจัง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
วัฒนธรรม. รวบรวมโดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด, 2559
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ปริ๊นติ้ง, 2556
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูลการตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552
อานันท์ กาญจนพันธ์. “พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม”. รายงานการวิจัย. ศูนย์ภูมิภาคทางสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551