การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 ในกรุงเทพมหานครนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 2) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริหารจัดการชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร จำนวน 278 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการทดลองการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางจิตใจและทางกายของผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4ในกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.10, S.D.= 0.50) เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านจิตตภาวนา (การพัฒนาจิตหรือความคิด, การฝึกอบรมจิตใจ มีค่าเฉลี่ย ( = 451 S.D.= 0434 รองลงมาได้แก่ ด้านกายภาวนา (การพัฒนากาย, ฝึกอบรมกาย), ด้านศีลภาวนา (การรักษาศีล 5, พัฒนาความประพฤติ) และด้านปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา, ฝึกอบรมการใช้ปัญญา) ซึ่งอยู่ในระดับมากเท่ากัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ผู้สูงอายุเทศบาลนครสงขลา, สงขลา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ,มปป
พรรณราย ทรัพยะประภา, จิตวิทยาประยุกต์ในชีวิตและในการทำงาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 44.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : กองทุน
วุฒิธรรมเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม, 2542), หน้า 114.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), การศึกษาเพื่อสันติภาพ, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๗), หน้า ๒.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน, (กรุงเทพมหานคร :
พิมพ์สวย, 2546), หน้า 76-77.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), “สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ”, ใน พุทธจักร, ปีที่ 59 ฉบับที่ 11
(พฤศจิกายน 2548) : 5-10.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, 2551), หน้า 39.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), พุทธสันติวิธี การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ๒๑ เซ็นจูรี่ จำกัด เลขที่ ๑, ๒๕๕๔), หน้า ๑๙๔.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ, พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน, (กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ, 2546), หน้า 159
สนทยา พลศรี, ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2545), หน้า 166.
สนธยา พลศรี, ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, อ้างแล้ว, หน้า 174.
สม สุจีรา, ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น, พิมพ์ครั้งที่ 20, (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์, 2550), หน้า 21.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรไทย. สืบค้นเมื่อ 10
เมษายน 2557, จาก http://www.nso.go.th
____ข้อมูลประชากรสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๒
สุมานพ ศิวารัตน์ (2556)การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา”, ใน วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, อ้างแล้ว, หน้า ๓๗.
Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan.1970 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี :สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, ๒๕๔๓.
Hair, J. F., Black, W. C., Bain, B. J., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (๒๐๐๖).Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson Education International