วิเคราะห์คำสอนวิปัสสนาในเตภูมิกถาที่มีผลต่อคตินิยมเชิงพุทธในสังคมไทย

Main Article Content

ชัญชาญ ศรีหานู
พระครูปลัด สัมพิพัฒนธรรมาจารย์
วิโรจน์ คุ้มครอง
เวทย์ บรรณกรกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาวิเคราะห์ประวัติและหลักธรรมสำคัญ วิเคราะห์หลักการปฏิบัติและคุณค่าของไตรภูมิกถาที่อิทธิพลต่อคตินิยมเชิงพุทธในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า คัมภีร์ไตรภูมิกถาเป็นนิพนธ์ของพระยาลิไท กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ทรงนิพนธ์ในปี พ.ศ. 1888 เพื่อเป็นหลักการพัฒนาจิตใจให้มีศีล สมาธิและปัญญาโดยการนำหลักปรมัตถธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาอธิบายเชิงภาพสมมติ เพื่อสร้างเป็นแผนที่ชีวิตให้บรรลุนิพพาน ตามหลักไตรสิกขา ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาผู้ปฏิบัติใช้สติและปัญญาพิจารณาให้รู้สภาพปรมัตถ์ของจิตและสิ่งปรุงแต่งจิตซึ่งปรากฏในรูปขันธ์ห้าที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันให้เห็นไตรลักษณ์ จนจิตสามารถรู้แจ้งความเป็นปรมัตถ์และปล่อยวางสิ่งสมมติทั้งหลายคือความคิด จนจิตไม่หวั่นไหว โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญคือ ความเพียร สัมปชัญญะ และสติ เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งความจริงจนบรรลุวิปัสสนาญาณ 16 ขั้น คำสอนเรื่องวิปัสสนาในคัมภีร์ไตรภูมิกถามีคุณค่าและคตินิยมต่อสังคมไทยชัดเจนคือ การดำเนินชีวิตตามหลักไตรสิกขา การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามลำดับโดยการรู้เท่าทันมโนภาพสิ่งปรุงแต่งจิตจนนำไปสู่การบรรลุนิพพาน คุณค่านี้ทำให้คัมภีร์ไตรภูมิกถาถูกถือเป็นรัฐธรรมนูญชีวิตทั้งทางโลกและธรรมไปพร้อมกัน คือการฝึกจิตด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบธัมมานุปัสสนาในขณะดำรงชีวิต นอกจากนั้นยังส่งผลเป็นคติยมที่มีคุณค่าต่าง ๆ ต่อสังคมไทยคือ อุดมคติชีวิต ด้านภาษา ด้านสังคมและวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมและสุนทรียศาสตร์ ด้านศาสนาและด้านศิลปะไทยทุกสาขาวิชา ความเป็นไทยซึ่งมีรากเหง้ามาจากพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๒๔, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

พระศรีสุธรรมเมธี. อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อแนวคิดทางการเมืองการปกครองของพระเจ้าลิไท: ศึกษาเฉพาะกรณี : ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา), วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.

ภารตี มหาขันธ์. พื้นฐานอารยธรรมไทย, กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ราม วัชรประดิษฐ์. พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๘๗.วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

หอสมุดแห่งชาติ. ตำราภาพไตรภูมิฉบับหลวงสมัยกรุงธนบุรี. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรขอม-ไทย. ภาษาบาลี. เส้นรงค์ (หมึก, สีน้ำยา). จ.ศ.๑๑๓๘ (พ.ศ.๒๓๑๙). เลขที่ ๑๐. หมวดตำราภาพ.

หอสมุดแห่งชาติ. ไตรภูมิสัณฐานสมัยอยุธยา. หนังสือไทยขาว. อักษรไทย.ภาษาบาลี-ไทย. เส้นรงค์ (หมึก, สีน้ำ).สมัยอยุธยา. เลขที่ ๖. หมวดตำราภาพ.