การจัดการองค์กรตามแนวทางปราภวสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาการจัดการองค์กรที่จะนำไปสู่การพัฒนานั้นมีอยู่หลายลักษณะเฉพาะ โดยการใช้แนวคิดตามนักทฤษฎีต่าง ๆ ที่เป็นของชาติตะวันตกบ้าง แนวคิดโดยนักรัฐศาสตร์ หรือนักวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ บ้างซึ่งมีอยู่มากมายหลายท่าน แต่ว่าการจัดการในรูปแบบหรือลักษณะนี้จะสร้างแต่การทำงานที่เน้นผลงาน หลักการ ที่ช่วยสร้างให้เกิดผลงานมากมาย แต่ว่ายังขาดอีกในรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ การนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่เป็นพระสูตรมาใช้ในการจัดการ หรือการจัดองค์กรให้เข้าถึง หรือเพื่อสร้างให้เป็นองค์กรที่เน้นคุณธรรม นำชีวิตให้เกิดมีประสิทธิภาพในอีกรูปลักษณะหนึ่ง โดยผู้เขียนนั้นได้นำหลักธรรมที่เป็นพระสูตรในทางพระพุทธศาสนาที่ชื่อว่า “ปราภวสูตร” นำมาวิเคราะห์ให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า การจัดการองค์กรได้นั้นควรมีบุคคลากรลักษณะใดบ้าง ผู้บริหารขององค์กรผู้สามารถบริหารที่ดีนั้นต้องประกอบด้วย คุณธรรม 12 ประการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังนี้ คือ เป็นผู้ที่สนใจไฝ่เรียนรู้ มีมิตรดีควบคู่อยู่กับงานที่ไฝ่หา ขยันต่อหน้าที่ไม่คดโกงซึ่งเวลา เป็นผู้ที่สามารถเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างสมบูรณ์ ไม่โกหกต่อผู้ใดในหน้าที่ รู้จักแบ่งปันแต่สิ่งดีและสร้างสรรค์ อย่าดูหมิ่นซึ่งศักดิ์ศรีที่สำคัญ อันทรัพย์สินที่ใช้นั้นไม่สิ้นเปลือง เชิงชู้สาวเรื่องสำคัญอย่าให้เกิด จะทูลเทิดคู่ชีวิตที่มีศีลเสมอเหมือน คอยพลักดันคนที่ดีให้เป็นใหญ่ไม่แชเชือน จงย้ำเตือนซึ่งตัวเราให้ทำดี ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กิ่งกาญจน์ วรนิทัศน์ และคณะ. องค์การและการจัดการ (Management 3/e). กรุงเทพมหานคร : แมคกรอ-ฮิล.(2552).
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.(2551).
ตุลา มหาพสุธานนท์. หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้ง.(2554).
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.(2543).
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์). ธรรมวิจยานุศาสน์. ข้อมูลออนไลน์. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2564,จาก https://bit.ly/380JYjl
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.(2556).
วารุณี เตชะคุณารักษ์. การใช้ SWOT วิเคราะห์ตนเอง. ข้อมูลออนไลน์. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://techno.rtu.ac.th/detailk11.php
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ปราภวสูตร. ข้อมูลออนไลน์. สืบค้น 2 มีนาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ปราภวสูตร
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การจัดการองค์กร. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การจัดการ
หอพระสมุดวชิรญาณ. ปราภวสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.(2470).
อาทิตย์ วงษ์สง่า. SWOT Analysis. ข้อมูลออนไลน์ สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.physics.sci.ku.ac.th/physkm/Storage/S1/swot-analysis.pdf