การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลป้องกันโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลป้องกันโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป้องกันในชุมชนและสังคมต่างๆ ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้น เป็นหลักธรรมในการปลูกฝังการให้อภัย การทำในสิ่งที่ถูกต้อง ให้รักตัวเอง รักคนรอบข้าง รักสังคม การมีร่วนร่วมของประชาชนในการดูแลป้องกันโรคโควิด 19 ประชาชนนั้นควรเอาหลักอิทธิบาท 4 ในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติกัน ดังนั้น หลักอิทธิบาท 4 ที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อเป็นการดูแลป้องกันโรคโควิด 19 ไปด้วยกัน อันประกอบไปด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา โดยเป็น ฉันทะ หรือ ความพึงพอใจ คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการพอใจกับการรัฐในการออกข้อระเบียนในการดูแลตนเอง วิริยะ คือ ความเพียร ประชาชนควรขยันในการตรวจดูตัวเองว่ามีการเตรียมกับการป้องกัน จิตตะ คือ ประชาชนตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นของเชื้อโรคและไม่ตื่นเต้นจนเกิดไปและควรดูแลป้องกันด้วยความตั้งใจ วิมังสา คือ ประชาชนควรมีความไตร่ตรองในการมีส่วนร่วมในการดูแลป้องกัน และหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลป้องกัน โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 จึงจะทำให้ประชาชนมีความสามัคคีในการดูแลตนเองและสังคมให้ประสบผลสำเร็จในการมีส่วนร่วมดูแลป้องกัน ตามความมุ่งหวัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พงษ์เทพ บุญกล้า. ศรัทธาออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ต่อพุทธศาสนา. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: https://prachatai.com/journal/2013/08/48013 (เข้าถึง 23 มกราคม 2654)
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2546).
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2542).
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย ในมุมมองแต่ละ Gen. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: https://tdri.or.th/2020/07/thailands-life-satisfaction-and-happiness/ (23 มกราคม 2564)
สามารถ มังสัง. โควิด 19 ระบาด: เหตุให้เศรษฐกิจและสังคมแย่ลง. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: https://mgronline.com/daily/detail/9630000059231 (เข้าถึง 24 มกราคม 2564)
สุพิลาลัย ใช้ประทุม. ปัญหาทางเศรษกิจในชุมชนและแนวทางแก้ไข. สมุทรสาคร. (2555).
เสกสันต์ บุญยะ, การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารบุคคลของผู้บริหาร โรงเรียน พระปริยัติธรรมขนาดเล็ก แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2559).
อนุชา เทียมพูล. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหาร ส่วนตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สระแก้ว : มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560).
เอื้องฤทัย. ความยากจน ปัญหาที่ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: http://pan-ha-khuam-yak-jon.blogspot.com/2012/02/blog-post_17.html (เข้าถึง 23 มกราคม 2564)