นามอาหารไทย ๔ ภาค : วัฒนธรรมอันสะท้อนวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

เนมิ อุนากรสวัสดิ์
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมจากคำเรียกชื่ออาหารไทย ๔ ภาค” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำเรียกชื่ออาหารไทย ๔ ภาคกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในบทความฉบับนี้ผู้วิจัยเลือกคำในวงความหมายพืชและผลผลิตจากพืชมาวิเคราะห์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทยทั้ง ๔ ภาค ผลการศึกษาพบว่าพืชและผลผลิตจากพืชที่พบในชื่ออาหารไทย แสดงให้เห็นถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยว่าตั้งอยู่ในเขตร้อน มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำจืดอยู่ทั่วไปในประเทศ ในภาคเหนือมีอุณหภูมิต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย มีอากาศที่เย็นและแห้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ด้าน                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นป่าโปร่งหรือป่าละเมาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่โล่ง มีต้นไม้ขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในฤดูฝน พืชพันธุ์จะอุดมสมบูรณ์ และมีเห็ดหลายชนิด ภาคกลางมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมด้านอาหารระหว่างไทยกับจีน ส่วนภาคใต้ ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่มีพื้นที่ติดทะเล และมีต้นไม้สูงใหญ่ นอกจากนี้ยังพบพืชแซมสวน แสดงให้เห็นว่าภาคใต้มีการประกอบอาชีพทำสวนอีกด้วย อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยอีกด้วยว่าคนไทยมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ผูกพันกับธรรมชาติ จึงมักเลือกเอาผักพื้นบ้านหาได้ง่ายตามท้องถิ่นมาประกอบอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา นิลสงวนเดชะ. “มอง “สังคมชาวจีนภาคใต้ของไทย” ผ่านพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ.109”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มิถุนายน 2562): 178-215.

ชนกพร อังศุวิริยะ. “การศึกษาชื่ออาหารในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์”. รายงานการวิจัยภาควิชาสารัตถศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2555.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. อาหารกับสุขภาพในแนววัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดด, 2541.

ประยูร อุลุชาฎะ. อาหารรสวิเศษของคนโบราณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดด. 2531.

ประสิทธิ์ เงินชัย. “การดำรงอยู่และบทบาทของวัฒนธรรมจีนในภาคตะวันออก”. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2557): 63-75.

พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. “การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และการขยายเมล็ดพันธุ์ของเชื้อพันธุกรรมฟักเขียว”. ปัญหาพิเศษปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.

มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย. ม.ป.ป. (ออนไลน์) แหล่งที่มา https://thairice.org/?p=582

วงศ์สถิต ฉั่วกุล. อนุกรมวิธานพืชสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : วรานนท์เอ็นเตอร์ไพรส์, 2548.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) . สารานุกรมภูมิปัญญาอาหาร. กรุงเทพ : สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), 2537.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ย้ายถิ่นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา. 2562 (ออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99.aspx.

สุนทรีย์ แสงสีโสต. “กล้วย : ผลไม้สารพัดประโยชน์”. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. ปีที่ 48 ฉบับที่ 153 (พฤษภาคม 2543): 3-5.

สุพร อำมฤคโชค. “มะขามพืชพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่า”. เทคโนโลยีที่เหมาะสม. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายยน 2535): 61-70.

สุภกันยา ตระกูลทวีพัฒน์. “การศึกษาการทำแห้งใบกะเพราด้วยเทคนิคอุณหภูมิและความชื้นต่ำ”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2560.

แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. อาหาร: ทรัพย์และสินแผ่นดินไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงแดด, 2544.

อรพิน กาบสลับ. “การมีส่วนร่วมของเกษตรผู้เลี้ยงกุ้งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ในชุมชนลุ่มแม่น้ำเวฬุ”. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.

อาริยา อินทร์เอียด. “ประเมินระดับความสามารถการทนเค็มของมะเขือ 11 พันธุ์”. ปัญหาพิเศษปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557.