พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนักเพราะความโกรธ จริงหรือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนักเพราะความโกรธ จริงหรือ” โดยเป็นการถอดบทเรียนผ่านรายการ “บาลี : พระพุทธพจน์ทุกคนเรียนได้” จากการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ร่วมกับการศึกษาวิเคราะห์ตามต้นฉบับคัมภีร์ดั้งเดิม (Original Pali) หรือ บาลีพุทธวจนะ (Canon) คือพระไตรปิฏก, อรรถกา, ฎีกา หรือจากคัมภีร์อื่นๆ เช่น อนุฎีกา สารัตถทีปนีฎีกา และอื่นๆ ตามแหล่งข้อมูลที่สำคัญประกอบกัน ทั้งนี้ รูปแบบการศึกษาดังกล่าวจะทำให้เกิดความกระจ่างต่อการศึกษาวิเคราะห์ยิ่งขึ้น ซึ่งหากศึกษาคัมภีร์ หรือตำราเฉพาะบางแง่มุมเดียว อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อการเข้าใจที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ประเด็นที่เลือกศึกษาเป็นตัวอย่างของรูปแบบการเรียนรู้ทางคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การแสดงท่าทีต่อการปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ในสมัยครั้งพุทธกาลที่ทำให้เกิดข้อสงสัยในหลายประการ ซึ่งประเด็นการศึกษาสอดคล้องกับสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระออกจากสำนัก, 2) พระพุทธองค์ยังละความโกรธไม่ได้ ใช่หรือไม่ และ 3) พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูจริงหรือ เหตุใดจึงไม่ทรงทราบอุบายที่จะทำให้พอพระทัย โดยเนื้อความปรากฏใน จาตุมสูตร พระสูตรนี้เป็นการบรรยายโวหาร แบบถาม-ตอบ และมีอุปมาอุปไมยประกอบ กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ภิกษุอาคันตุกะ 500 รูป เพื่อแสดงถึงมารยาทในการอยู่ร่วมกัน แนวทางการปกครองคณะสงฆ์ และภัยของบรรพชิตผู้บวชใหม่ 4 ประการ 1) ความไม่อดทนต่อคำสอน
๒) ความเห็นแก่ปากท้อง 3) ความหน่วงเนี่ยวจากกามคุณ 5 (รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส) และการขาดการสำรวมอินทรีย์ต่อมาตุคาม (สตรี) ภัยดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นภัยที่อันตรายอย่างยิ่งต่อบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระมหาสมปอง มุทิโต. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์ พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2547.
พระอัคควังสมหาเถระ. สทฺทนีติปฺปกรณํ (สุตฺตมาลา). พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ปริวรรต. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, 2549.
พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.
พระพุทธโฆษาจารย์. สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺกถา (ตติโย ภาโค). มหามกุฏราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 28. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2559.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
พระติปิฎกจูฬาภยเถระรจนา. มิลินทปัญหาภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.