กาลามสูตร: การมีส่วนร่วมของประชาชนของการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19

Main Article Content

ปุณณภา ปริเมธาชัย
พระครูสมุห์จิรชาติ พุทธรักขิโต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษากาลามสูตร: การมีส่วนร่วมของประชาชนของการรับวัคซีนป้องกันโควิด -19 กาลามสูตรนั้นเป็นหลักวิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย โดยตรัสสอนมิให้เชื่อเหตุ 10 ประการด้วยกัน คือ 1. ฟังตามกันมา 2. นำสืบกันมา 3. ตื่นข่าว 4. อ้างตำรา 5. นึกเอา
 6. คาดคะเน 7. ตรึกตามอาการ 8. พอใจว่าชอบด้วยความเห็นของตน 9. เห็นว่าพอเชื่อได้
10. เห็นว่าเป็นครูของเรา หลักการ 10 อย่างนี้ สามารถเป็นหลักให้ประชาชนในยุคสังคมสมัยใหม่ที่มีการสื่อสารได้เร็วรู้จักใช้เหตุและผลให้มากขึ้น ดังนั้น กาลามสูตร: การมีส่วนร่วมของประชาชนของการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 การที่ประชาชนจะได้ข่าวสารเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนโควิด -19 ว่าดีหรือไม่ดีที่จะได้รับวัคซีนโควิด -19 นี้เพราะว่าประชาชนได้ข่าวหรือการสื่อสารต่าง ๆ และในโซเซียลต่าง ๆ จึงทำให้ประชาชนเกิดความกังวล หลักกาลามสูตรในคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็นหลักเกณฑ์คำสอนเพื่อให้สติมีปัญญากำกับความเชื่อ และให้พิจารณาข้อมูลข่าวสารด้วยหลักการของเหตุและผล สติปัญญาตรองตรึกอย่างเป็นระบบ ไม่ปลงใจเชื่อสิ่งที่รู้หรือเห็นโดยไม่ใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างละเอียดรอบครอบ ประชาชนในประเทศไทยควรอย่างยิ่งที่จะนำหลัก กาลามสูตรมาใช้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนของการรับวัคซีนป้องกันโควิด -19 เพื่อเป็นหลักส่งเสริมศรัทธาความเชื่อของประชาชนในประเทศไทยเพื่อให้ประชาชนมีความหนักแน่นมากยิ่งขึ้นในการบริโภคข้อมูลตาม
สื่อต่างๆ และเห็นการนำพาประชาชนให้เกิดความคิดเห็นที่ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมโรค, (2564), ประกาศกรมควบคุมโรค: นโยบายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564, [สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564], จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/files/DDCPolicy_202020v_2.pdf

พระอุดมคณาธิการ และจาลอง สารพัดนึก. (2552). พจนานุกรมบาลี-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

พลวุฒิ สงสกุล, (2564). แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย. [สืบค้น วันที่ 20 เมษายน 2564], จาก https://thestandard.co/coronavirus-vaccine-plan-3/

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 15, 20, 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ หน่องพงศ์ และสุรเดช บุญลือ. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 4 (1), 81-91.

อนุชา เทียมพูล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จังหวัดสระแก้ว: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Poland GA, Ovsyannikova IG, Kennedy RB. (2020). SARS-CoV-2 immunity: reviewand applications to phase 3 vaccine candidates. Lancet2020;396:1595-606.

Polack FP, Thomas SJ, Kitchin N, Absalon J, Gurtman A, Lockhart S, et al. (2020). Safety and Efficacy of the BNT162b2 mRNA Covid-19 Vaccine. N Engl J Med 2020;383:2603-15.

Baden LR, El Sahly HM, Essink B, Kotloff K, Frey S, Novak R, et al. (2021). Efficacy and Safety of the mRNA-1273 SARS-CoV-2 Vaccine. N Engl J Med2021;384:403-16.

Shimabukuro TT, Cole M, Su JR. (2021). Reports of Anaphylaxis After Receipt of mRNA COVID-19 Vaccines in the US—December 14, 2020-January 18, 2021. JAMA. Published online February 12, 2021. doi:10.1001/jama.2021.1967.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2021). Allergic Reactions Including Anaphylaxis After Receipt of the First Dose of Moderna COVID-19 Vaccine — United States. December 21, 2020–January 10, 2021. MMWR 2021;70:125–29.

Zhu FC, Guan XH, Li YH, Huang JY, Jiang T, Hou LH, et al. (2564). Immunogenicity and safety of a recombinant adenovirus type-5-vectored COVID-19 vaccine in healthy adults aged 18 years or older: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 2 trial. The Lancet 2020;396:479-88.