การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” ถ้าหากรัฐบาลได้นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นกรอบในการพัฒนาและมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืน “SDG Index” เป็นการประเมินความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 74.19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ที่ 65.7 คะแนน และในรายงานได้ระบุว่า ไทยบรรลุเป้าหมายแล้วในหัวข้อ SDG 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) ทั้งยังมีเป้าหมาย SDGs ที่มีสัดส่วนของตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมายแล้ว และมีแนวโน้มจะบรรลุตามเป้าประสงค์ระยะยาว ประกอบด้วย SDG 4 คุณภาพการศึกษา SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล และ SDG 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน โดยยังมีเป้าหมายที่ยังคงเป็นความท้าทายสูง (สถานะ สีแดง) ได้แก่ SDG 2 ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) SDG 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และ SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก ซึ่งถือได้ว่าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย จากคะแนนที่ปรากฏเป็นสิ่งที่น่าพอใจในระดับหนึ่งเท่านั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. (2564). สู่โลกที่ดีกว่าเดิมในปี 2030 ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
กับ ชล บุนนาค. https://www.the101.world/chol-bunnag-interview/. เข้าถึงเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรวัฒน์ สุริยะโชติชยางกูล และนณริฏ พิศลยบุตร. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบท ประเทศไทยและทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมายสำหรับ เป้าหมายที่ 16: การส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ทุกคนเข้าถึง ความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
จีรนันท์ นาคสมทรง. (2563). เศรษฐกิจหมุนเวียนหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและบทบาทของการบัญชี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 157-172.
พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การพัฒนาองค์กรชุมชน.นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
ลดาวัลย์ คำภา. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช, 6(2). หน้า1-27.
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.
เสถียร ฉันทะ,อรุณีอินเทพ,จันทร์จิราขันประเสริฐ และกันยพัชร์ไตรทรัพย์. (2560). โครงการ “การสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย" เป้าหมายที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.