การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารหนี้สาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ารายได้หลักของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษีอากร เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการต่างๆ ของรัฐบาล แต่นอกจากการเก็บภาษีอากรและการประกอบกิจการโดยรัฐบาลแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาล นั้นคือการกู้ยืมเงินทั้งจากภายในประเทศ และจากต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งการกู้ยืมเงินนี้เราเรียกว่าเป็นการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล ซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้จ่ายก่อนแล้วเก็บภาษีมาใช้หนี้ทีหลัง ในปัจจุบันประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการงบประมาณที่เหมาะสมสําหรับการจัดสรรงบประมาณ จึงทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ไม่สามารถตรวจสอบได้ และโครงการต่างๆ ที่รัฐดำเนินการ อาจไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายเท่าที่ควร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). หนี้สาธารณะอีก 3 ปีจะทะลุ 65%. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. https://www.thansettakij.com/content/money_market/.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. ( 2556). งบประมาณแบบมีส่วนร่วม:บทเรียนจากต่างประเทศและความท้าทายสําหรับประเทศไทย. กรุงเทพ : วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ปีที่ 20 ฉบับที่ 1.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี.กราฟคดีไซน์และการพิมพ์จํากัด
สมนึก สุขช่วย. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารสาระสาร สอน. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2557. พิมพ์ที่ : สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ.กรมทรัพยากรน้ำ กรุงเทพฯ.
สํานักงบประมาณของรัฐสภา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการงบประมาณ. สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รายงานวิชาการสำนักงบประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 2 ปี 2562.
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. (2564). ข้อมูลหนี้สาธารณะ. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. https://www.pdmo.go.th/th/faq-debt.
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. (2562). แถลงข่าว สบน. หนี้ต่อGDP วินัยการคลัง. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. http://www.pdmo.go.th/.
classic ausiris. (2562). หนี้สาธารณะ หนึ่งองค์ประกอบที่ส่งผลต่อราคาทองคำ. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. https://www.caf.co.th/2019/หนี้สาธารณะ-หนึ่งองค์ประกอบ/.
MGR Online. (2556). Money Tips : หนี้สาธารณะไม่ใช่เรื่องไกลตัว. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. https://mgronline.com/mutualfund/detail/9560000/.