ผลของการใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม(เนยอุปถัมภ์)

Main Article Content

สอนประจันทร์ เสียงเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เปรียบเทียบนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม(เนยอุปถัมภ์)  ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม(เนยอุปถัมภ์) ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Samping) โดยการจับสลาก ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบ One  Group  Pretest-posttest  Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินนิสัยรักการอ่าน และกิจกรรมการเสริมแรงทางบวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า
1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม(เนยอุปถัมภ์)  มีค่า E1/E2 เท่ากับ  82.0/81.14  2) นิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านดอนอุดม(เนยอุปถัมภ์)  ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาส รัตนอุดม. ผลของการเสริมแรงทาง บวกโดยใช้ เบี้ยอรรถกรเพื่อปรับพฤติกรรม ที่ไม่พึง ประสงค์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๕. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา วิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,๒๕๕๒.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล.ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.อุดรธานี : โรงพิมพ์อักษรศิลป์, 2556.

สุชาดา กลางสอน และ สุวรี ศิวะแพทย์. “ผลของการเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของเด็กสมาธิสั้น”. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2558): 212-219.

สุชาติ ลลิตวิภาส. ศึกษาพฤติกรรมความสนใจในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม โดยใช้เทคนิคการเสริมแรง. กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม, 2557.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.(2555). 5 วิธีสร้างนิสัยรักการอ่านในเด็ก.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561. เข้าถึงจากhttp://www.posttoday. com/life/life/427084.

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์.(2559).สำรวจการอ่านของคนไทยยุคดิจิทัล.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ28 พฤษภาคม 2561. เข้าถึงจาก http://www.posttoday.com/life/life/427084.

TK Park.(2562).อ่านมากขึ้น อ่านไม่ออก และการรู้หนังสือ.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2562. เข้าถึงจาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/408.