แนวทางการรักษาศีลของเยาวชนไทยยุค ๔.๐
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เพื่อศึกษา “แนวทางการรักษาศีลของเยาวชนไทยยุค 4.0” โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องศีลในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการรักษาศีลของเยาวชนในสังคมไทย (3) เพื่อเสนอแนวทางการรักษาศีลสำหรับเยาวชนในยุค 4.0 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการลงภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) ผลการวิจัยพบว่า ศีลเป็นหลักพื้นฐานการดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นหลักของการหักห้ามจิตใจไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่คิดว่าทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเป็นหลักการปฏิบัติที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความพอใจหลักพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีสภาพปัญหาของการละเมิดศีลสำหรับเยาวชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางอาชญากรรมการปล้นชิงทรัพย์สินการทำความผิดทางเพศการโกหกหลอกลวงเยาวชนติดเกมส์ และการเสพสิ่งเสพติดให้โทษ และขาดระเบียบวินัย ขาดความเข้มแข็งและความมั่นคง ทางกายและใจ ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาให้กับเยาวชนในชุมชน คือ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ตัวบุคคลย่อมสามารถป้องกันหรือแก้ปัญหาส่วนบุคคลและสังคมได้ เพื่อลดปัญหาต่างๆ แต่ในการรักษาศีล 5 ต้องมีความพร้อมทั้งด้านกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมเยาวชนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติตามหลักศีล 5 อย่างถูกต้องและไม่ประพฤติผิดในศีลด้วยวิธีการต้องมีสติและความกลัวต่อบาปต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระมหาประเสริฐ อคฺคเตโช.แนวทางการประยุกต์หลักสันติธรรมเพื่อเสริมสร้างความสันติสุขของเยาวชนในโรงเรียน:กรณีศึกษาโรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล).วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
พระครูโสภณวีรานุวัตร.บทบาทของพระสังฆาธิการ : การขับเคลื่อน ไทยแลนด์ 4.0, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะปีที่ 11 ฉบับที่ 2เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2561 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี.
อำพร โปสจา. บทความ เรื่องยิ้มสู้ภัย ยาเสพติด “สุขภาพจิตกับยาเสพติด” ปี 2546.
PhravaranonthaThitanontho. The relationship between the five precepts (PancaSila) and social : An analyical study. Master of Arts. Graduate School:Mahamakut Buddhist University,2550.
Sergeant (Sgt.) SuchaiThasuwan.The Study of Factors Influencing to the Behaviorof the impact of the Violation of the Fifth Precept : a case study of theTransportation Regiment of King Guard. Master of Arts. Graduate School :Mahachulalongkornrajavidyalaya University.2011.