ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูกับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูกับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือครูผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี พัสดุ ของสถานศึกษา แห่งละ 1 คน จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ความถี่ 2) ร้อยละ 3) ค่าเฉลี่ย 4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 5) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูกับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.603) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูในสถานศึกษา ด้านการจัดสรรงบประมาณ (X2 ) กับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาด้านทรัพยากรบุคคล (Y1 ) มีความสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุด (r=.609) รองลงมาได้แก่การมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ (X1) กับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาด้านวัสดุ สื่อ อุปกรณ์ เพื่อการเรียนรู้ (Y2 ) (r=.579) และความสัมพันธ์น้อยที่สุดของการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณของครูในสถานศึกษา ด้านการบริหารบัญชี (X6) กับความเพียงพอของทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการ (Y4) (r=.141)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). 2546.
กรรณาภรณ์ สุดหอม. การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการวางแผนปฏิบัติการประจำปีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2560.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. 2560.
สมใจ คัสกรณ์. ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.2559.
อนงค์ อาจจงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของ
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2557.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measuremet. 30(3): 607-610.