คัมภีร์อุปาสกชนาลังการ : การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์

Main Article Content

Thanee suwannaprateep
พระศรีสุทธิเวที ขวัญ ถิรมโน
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคัมภีร์อุปาสกชนาลังการ ซึ่งได้พรรณาธิบายเรื่องหลักการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามของอุบาสก-อุบาสิกา ในฐานะเครื่องประดับตกแต่งที่งดงามของชาวพุทธ ประพันธ์โดยพระภทันตอานันทมหาเถระ ชาวสิงหล ฉบับหอสมุดแห่งชาติใบลานเลขที่ 3689/ข/1-3 ต. 18 ช. 2 มี 3 ผูก จัดเรียงโครงสร้างเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ 9 หมวด ซึ่งมีคุณค่าด้านวรรณกรรม ความรู้ วัฒนธรรม มารยาทของชาวพุทธที่ต้องอนุรักษ์และเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่ออนุชนคนรุ่นหลัง การวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์อุปาสกชนาลังการที่มีต่อการปฏิบัติตนของอุบาสกในสังคมไทย พระภทันตอานันทมหาเถระ ได้อธิบายข้อประพฤติปฏิบัติตนของอุบาสก-อุบาสิกาประกอบด้วยหลักธรรม 9 หมวด คือ 1) สรณะ คือ การเข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด 2) ศีล คือ การรักษาจิตให้มีปกติทางกายกรรม เป็นต้น 3) ธุดงค์ คือการปฏิบัติตามข้อวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต 13 ข้อ 4) สัมมาชีวะ คือ ไม่ควรทำการค้าขาย 5 ประการ เป็นต้น  5) บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ มีการบริจาคทาน เสียสละ เป็นต้น 6) อันตรายิกธรรม คือสิ่งที่ทำให้เป็นอันตราย เช่น การว่าร้าย ติหนิพระอริยเจ้าเป็นต้น 7) โลกิยสัมปัตติ คือ ทรัพย์สินที่เป็นโลกิยะตามที่ตนปรารถนา
8) โลกุตรสัมปัตติ คือ สมบัติที่เป็นโลกุตตระตามที่ตนปรารถนา 9) เรื่องความสำเร็จแห่งผลบุญ        

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประภาส สุระเสน, พระคัมภีร์อนาคตวงศ์ฉบับถ่ายถอด-แปล, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2544.

ประภาส สุระเสน, อมตรสธารา อรรถกถาอนาคตวงศ์, กรุงเทพมหานคร : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2544.

พร รัตนสุวรรณ และคณะ (ปริวรรต), มิลินฺทปญฺหปกรณํ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, 2540.

พระปัญญาสามีเถระ, ศาสนวงศ์หรือประวัติศาสนา, แปลโดย แสง มนวิทูร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2506.

พระมหานามะ, มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป เล่ม 3 ฉบับหลวงในหอสมุดวชิรญาณ, แปลโดย พระปริยัติธรรมดา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทย, 2463.

พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ (โพธิ์นอก), คัมภีร์วิสุทธิมัคคคัณฐี : การชำระและการศึกษาวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี (พันนาวา), มาลัยยวัตถุทีปนี : การตรวจชำระและศึกษาวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (บาลี), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.

พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร (สาราภิวงศ์), คัมภีร์สมันตภัททิกา อรรถกถาอนาคตวงศ์ : การแปลและศึกษาวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

พระมหาอุดร สุทฺธิญาโณ (เกตุทอง), ศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์กังขาวิตรณีอรรถกถา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

______________. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.

______________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

______________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.

วิโรจน์ คุ้มครอง, “คัมภีร์สุตตสังคหะ: การปริวรรต การแปล และการวิเคราะห์”, รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

สมเด็จพระวันรัตน์ (แก้ว), สังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2521.

แสง มนวิทูร (แปลและเรียบเรียง), พระคัมภีร์ทีปวงศ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูธรรโมภาษผดุงกิจ, กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, 2526.

G.P. Malalasekera, The Pali Literature of Ceylon, London: 1928.

Gandhavamsa, ed. J. Minayeff, JPTS, 1886.

Hardy ed., Colophon of the Nettippakaranatthakatha, London: PTS, 1902.

Louis de Zoysa, A Catalogue of the Temple, Libraries of Ceylon, 1885.

Pajjamadhu, ed. By E.R. Gunaratne, JPTS, 1887.

Rupasiddhi, ed. By Pannasekhara Mahanayakathera, Colombo, 1933.

Sir D. B. Jayatilaka, The Katikavatsangara, Kalaniyaม 1955.

Thomas Watters, On Yuan Chwang’s Travels in India 629-645, ed. T.W.Rhys Davids and S. W. Bushell, London,1905.