จิตตภาวนาประชารัฐภิบาล : พุทธนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติธรรม แบบมีโครงสร้างและมีเป้าหมายเชิงประจักษ์

Main Article Content

NiKorn Ya-inta
พระครูสิริสุตานุยต
พระมหาอรรถพล นริสฺสโร
พระครูภาวนาโสภิต (บุญญวิศิษฏ์ เมืองวงศ์)
ปิ่นปินัทธ์ เหลืองพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาชุดความรู้และกิจกรรม และเพื่อบูรณาการชุดความรู้และกิจกรรมตามหลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยในเชิงเอกสาร เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการทดลองกับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร จำนวน 20 คน และถ่ายทอดเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะกับประชาชน จำนวน 59 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) ผลการวิจัยพบว่า หลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนาเป็นการพัฒนาจิตตามหลักอริยสัจ 4 หลักภาวนา 4 หลักการให้ทาน และหลักไตรสิกขา การพัฒนาชุดความรู้และกิจกรรมตามหลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการพัฒนาชุดความรู้และกิจกรรมตามหลักปฏิบัติสมาธิในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการเชื่อมโยงของการทำงานของจิต สมอง อารมณ์และพฤติกรรม และพัฒนาชุดความรู้และกิจกรรมตามหลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการปฏิบัติสมาธิเพื่อบรรลุฌานระดับต่างๆ และพัฒนาในขั้นวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุสู่นิพพาน และการบูรณาการชุดความรู้และกิจกรรมตามหลักการพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีโครงสร้าง เป็นการบูรณาการศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาโดยดำเนินกิจกรรมการทดลองกับกลุ่มทดลอง และเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ ด้วยการอบรมกับประชาชน ซึ่งพบว่า คะแนนหลังการทดสอบสูงกว่าคะแนนก่อนการทดสอบ จึงสรุปได้ว่า การบูรณาการชุดความรู้และกิจกรรมนี้ ได้สร้างความรู้ใหม่ให้กับผู้เข้ารับการอบรมตามวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดุษฎี สุนทร. (2561). “ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระมหากัจจายนเถระ”, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชัยรักษ์ ผาสุกวิหาโร (พรหมตัน). (2561). “ศึกษาปัจจัยความสำเร็จการปฏิบัติธรรมของศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง เฉลิมราช จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระโดม อมโร เจริญรัมย์. (2561). “ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระธัมมาเถรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพุทธิวงศ์ ณฏฺฐญฺญู. (2561). “การวิเคราะห์นิพพานในทัศนะของพุทธทาสภิกขุตามแนวคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีวรรณรักษ์ ธนธรรมทิศ. (2561). “ศึกษาปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเหตุในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิธาน ฐานะวุฑฒ์. (2549). จิตตปัญญาศึกษากับคลื่นสมอง. มติชน. ฉบับประจำวันที่ 29 (เมษายน) : 29.

Daniel Goleman and Richard Davidson. [7 May 2018]. Liion’s Roar Buddhist Wisdom for our time. How Meditation Changes Your Brain and Your Life. [online]. source : http://www.lionsroar.com/how-meditation-changes-your-brain-and-your-life/ [19 November 2021].

Jeffrey L. Fannin Ph.D. (2021). Understanding Your Brainwaves. [online]. source : http://www. themeditationsolution.com/lambda.htm [19 November].