การออกแบบสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดร่วมกันโดยนักศึกษาครู

Main Article Content

ศาสตรา หล้าอ่อน
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
เกียรติ แสงอรุณ
นฤมล ช่างศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การร่วมกันออกแบบสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดของนักศึกษาครูภายใต้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับย่อ การบันทึกวีดิทัศน์ การบันทึกเสียงระหว่างการทำงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์โพรโทคอลด้วยกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหาที่ประกอบด้วยบริบทและเงื่อนไข  ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบบริบท นักศึกษาครูประสบกับความยุ่งยาก ดังนี้ 1) ความยุ่งยากในออกแบบบริบทของสถานการณ์ปัญหา โดยไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าสถานการณ์ปัญหาที่นั้นสอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียนหรือไม่ 2) ความยุ่งยากในการออกแบบบริบทให้สอดคล้องกับการนำเสนอสื่อหลักสำหรับการแก้ปัญหา และ 3) ความยุ่งยากในการออกแบบลำดับกิจกรรมการสอนในสถานการณ์ปัญหาที่มีหลายขั้นให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ส่วนการออกแบบเงื่อนไข นักศึกษาครูประสบกับความยุ่งยาก ดังนี้ 1) ความยุ่งยากในการออกแบบคำสั่งที่เน้นให้นักเรียนปฏิบัติตามโดยตรง ไม่ได้เปิดโอกาสให้คิดวิธีการและแก้ปัญหาด้วยตนเอง และ 2) ความยุ่งยากในการคาดการณ์แนวคิดของนักเรียน ที่เป็นการคาดการณ์ในระดับพฤติกรรมของนักเรียน ไม่ได้คาดการณ์ถึงระดับแนวคิดทางคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประเวศ วะสี. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยยุทธวิธีปัญหาปลายเปิด. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_______. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน (Processes of Problem Solving in School Mathematics). ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา.

_______. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรในโครงการการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach), ขอนแก่น: โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Brahier, D. (2013).Teaching secondary and middle school mathematics (5th ed.). Boston: Pearson-Allyn & Bacon Publishers.

Cai, J., Hwang, S., Jiang, C., & Silber, S. (2015). Problem posing research in mathematics: Some answered and unanswered questions. In F. M. Singer, N. Ellerton, & J. Cai (Eds.), Mathematical problem posing: From research to effective practice (pp. 3–34). New York, NY: Springer

Edgington, Cyndi. (2014). Teachers’ Uses of a Learning Trajectory as a Tool for Mathematics Lesson Planning. 10.1007/978-3-319-02562-9_14.

Lampert, M., Beasley, H., Ghousseini, H., Kazemi, E., & Franke, M. L. (2010). Using designed instructional activities to enable novices to manage ambitious mathematics teaching. In M. K. Stein & L. Kucan (Eds.), Instructional explanations in the disciplines (pp. 129–141). New York, NY: Springer.

Schoenfeld, A. S. (2010). How we think: A theory of goal-oriented decision making and its educational applications. New York: Routledge.

Smith, M. S., Bill, V., & Hughes, E. K. (2008). Thinking through a lesson: Successfully implementing high-level tasks. Mathematics Teaching in the Middle School, 14(3), 132–138.

Smith, M. S., & Stein, M. K. (2011). 5 practices for orchestrating productive mathematics discussions. Virginia, United States: National Council of Teachers of Mathematics Inc.