แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภูริทัต ชัยวัฒนกุล
จิตรา จันทราเกตุรวิ
ทิวัตถ์ มณีโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น และ 3) สร้างแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ และครูในโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 347 คน โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การสร้างแนวทาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน และการประเมินมาตรฐาน 4 ด้านของแนวทาง ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีค่าความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น .950  2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินแนวทาง ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 4 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และต่ำที่สุดคือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นที่มากกว่า 0.200 ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา และ 3) ได้แนวทาง ได้แก่ (1) ด้านจัดการเรียนรู้ 5 แนวทาง (2) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง (3) ด้านนิเทศการศึกษา 4 แนวทาง และ (4) ข้อเสนอแนะอื่นๆ 8 แนวทาง รวมทั้งหมด 20 แนวทาง มีระดับความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานพันธกิจปฏิรูปการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563, จากhttp://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1734-file.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง PLC เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ประเด็นหลักและนัยทางการศึกษาจาก PISA 2015: บทสรุปสาหรับผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จากttps://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSR21DbUJlUENTeXc/view

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ครูในระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร.สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563, จาก https://pisathailand. ipst.ac.th/issue-2018-35/

สิริพันธ์ สุวรรณมรรคา. (2562). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการศึกษา ใน รัตนา ดวง แก้ว (บรรณาธิการ), นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 2), (6-1-2-48).นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษาแนวติดและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย