การศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชก ฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง

Main Article Content

บุญโชติ สลีอ่อน
พระชยานันทมุนี
ชำนาญ เกิดช่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้ เพื่อศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง 2) ปริวรรตและแปลคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง 3) เปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร zลการวิจัยพบว่า ด้านความเป็นมา คัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทอง เป็นคัมภีร์ใบลาน ของประเทศลาว ได้นำมาจารลงใบลานใหม่ ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง เมื่อจุลศักราช 1250 พ.ศ. 2437 มีอายุ 133 ปี โดยปัญญาภิกษุ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระภิกษุชาวน่าน ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งมีผลงานการจารคัมภีร์ใบลานหลายเรื่องได้แก่ พุทธโฆสเถร, เทพทุมมาบัวรม, ชมพูประติ, ธรรมพลสังขยา และพระเวสสันดรฉบับหินฟู คัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับพระสิงห์หลวง เป็นคัมภีร์ใบลานของเชียงใหม่ได้นำมาจารลงใบลานใหม่ ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง เมื่อจุลศักราช 1272 (พ.ศ. 2453) มีอายุ 112 ปี โดยสามเณรเมืองคำ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสามเณรชาวน่าน ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งมีผลงานการจารคัมภีร์อีกหนึ่งเรื่องคือ อานิสงค์ปิฏกะทั้งสาม ด้านการปริวรรตและแปล ต้นฉบับคัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทอง มีจำนวน 39 หน้า ผู้วิจัยปริวรรตและแปลได้เนื้อหาจำนวน 38 หน้า ส่วนต้นฉบับคัมภีร์ ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับพระสิงห์หลวง มีจำนวน 35 หน้า ผู้วิจัยปริวรรตและแปลได้เนื้อหาจำนวน 28 หน้า ด้านการเปรียบเทียบ คัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทองและฉบับพระสิงห์หลวง  โดยเปรียบเทียบประเด็น 9 ด้าน คือ  1) ด้านประวัติความเป็นมา 2) ด้านแก่นเรื่อง 3) ด้านเนื้อหาและโครงสร้าง 4) ด้านสำนวนภาษา 5) ด้านสำนวนโวหาร 6) รสวรรณคดี 7) ด้านตัวละคร 8) ด้านคำสอนทางพระพุทธศาสนา 9) ด้านวัฒนธรรมล้านนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกศึกษาฉบับปรับปรุง.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

ธิติพล กันตีวงศ์. “เรื่องทำนองเทศน์มหาชาติ กัณฑ์มัทที ในประเพณีตั้งธัมม์หลวง”. วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2550-มีนาคม 2551): 91.

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานเพื่อวินิจฉัยคำต่างในพระไตร ปิฎก: กรณีศึกษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย”. วารสารธรรมธารา. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2562): 118.

บัณฑิกา จารุมา.“ประวัติศาสตร์อักษรธรรมล้านนาที่สัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): 168.

ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล. “การพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559.

ปัญญาภิกษุ. คัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับเชียงทอง. 1 ผูก. เส้นจารสีดำ. รหัส นน.02/07. หมวด 07. เลขที่มัด 127. วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน, 2437.

พระชยานันทมุนี, ผศ.ดร. “การสืบค้นการจัดระบบอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดและถ่ายทอดภูมิปัญญาล้านนาเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของจังหวัดน่าน”. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มิถุนายน 2560):46-47.

พระสมหมาย ปวโร (ติตะปัน). “การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก : กรณีศึกษาชูชกกัณฑ์ในคัมภีร์ใบลานอักษรขอม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิต

วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหา- นคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มัชฌิมา วีรศิลป์. “การศึกษาวรรณกรรมล้านนาเรื่องเวสสันดรชาดก สำนวนไม้ไผ่แจ้เรียวแดง”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.

สามเณรเมืองคำ. คัมภีร์ใบลานล้านนากัณฑ์ชูชกฉบับพระสิงห์หลวง. 1 ผูก. เส้นจารสีดำ. รหัส นน.02/07. หมวด 07. เลขที่มัด 104. วัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน, 2453.