ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระคิลานุปัฏฐากในการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระคิลานุปัฏฐากในการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของคิลานุปัฏฐากในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมและวิธีการดูแลสุขภาวะผู้ป่วยสำหรับพระคิลานุปัฏฐากตามหลักพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมและวิธีการดูแลสุขภาวะผู้ป่วยสำหรับพระคิลานุปัฏฐากตามหลักพุทธศาสนา โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า พระคิลานุปัฏฐากมีความรู้ด้านสุขภาพมากกว่าพระสงฆ์ทั่วไป การดูแลสุขภาพตามหลักพระธรรมวินัย คณะสงฆ์พึงส่งเสริมให้มีพระคิลานุปัฏฐากเพื่อคอยดูแลและส่งเสริมสร้างสุขภาพตนเอง อุปัชฌาย์ อาจารย์และสหธรรมิก ที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย โดยใช้ประโยชน์ความรู้ด้านสุขภาพจากการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐากได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม พระคิลานุปัฏฐากที่ดูแลพระสงฆ์อาพาธนั้นต้องสละเวลาและมีความตั้งใจที่จะถวายการรักษา พระสงฆ์ที่อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาพร้อมที่จะถวายการอุปฐากพระสงฆ์ผู้อาพาธด้วยวิธีการต่าง ๆ การนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าใจตามธรรมและสามารถนำหลักธรรมนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาจิตใจของตนให้มีความแข็งแกร่ง พระพุทธองค์ทรงเน้นสอนไตรลักษณ์ ที่เป็นลักษณะเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ที่ประกอบด้วย รูปธรรมและนามธรรม ความไม่เที่ยง เป็นต้น ถือเป็นแก่นของคำสอน การใช้หลักธรรมในการทำงาน เพื่อต้องการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นบรรเทาความทุกข์ทางด้านจิตใจ
เพราะการเจ็บป่วยและความตายเป็นทุกข์ เป็นภัยของมนุษย์แต่ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดาของทุกชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
คล้อย ทรงบัณฑิต. ประชุมวิชานานาปัญหาและเฉลย ธรรมวิภาค สำหรับนักธรรมชั้นตรีและธรรมศึกษาตรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2552.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2520.
_________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.
_________. พุทธธรรมฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2546.
พระวิชิต ธมฺมชิโต. คู่มือดูแลพระภิกษุอาพาธในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ญาณภาวัน, 2560.
พระมหาโยธิน โยธิโก (ปัดชาสี). “การจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการสำนักนายกรัฐมนตรี, 2560.
สํานักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก. กรุงเทพมหานคร: สํานักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561.
มหาเถรสมาคม. ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://mahathera.onab.go.th/index.phpurl=mati&id=7466, [30 มีนาคม 2564].
__________. การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://mahathera.onab.go.th/index.phpurl=mati&id=7466, [30 มีนาคม 2564].