การศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกในสังคมไทยปัจจุบัน

Main Article Content

พระปลัดชัยฤทธิ์ โชติวโร
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร
พระมหาวิจิตร กลฺยาณจิตฺโต

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกในสังคมไทยปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของเวสสันดรชาดกในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2)เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก และ (3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักธรรมที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกในสังคมไทยปัจจุบัน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า เวสสันดรชาดกเป็นวรรณคดีพุทธศาสนา เรียกว่า มหาชาติ เนื้อหาเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร หลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก คือ กฎแห่งกรรม ความไม่ประมาท การให้ทาน ฆราวาสธรรม 4 อธิปไตย 4 พรหมวิหาร 4 ทิศ 6 สังคหวัตถุธรรม 4 เป็นต้น การวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกเพื่อประยุกต์ใช้ในสังคมไทยปัจจุบันช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข โดยการมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต รู้ว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือสิ่งให้โทษต่อร่างกาย เห็นคุณค่าของชีวิต และดูแลสุขภาพให้ถูกต้อง รู้จักทำความดีทางด้านกาย วาจา พัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น มีจิตใจที่เป็นกุศล การนำหลักธรรมในชาดกมาใช้เป็นประจำจะทำให้สังคมเจริญรุ่งเรือง เป็นสังคมเข็มแข็ง ทำให้ปัญหาครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานเทศน์มหาชาติและแหล่เครื่องเล่นมหาชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศิวพร, 2514.

พระรัฐพงค์ อาจิณฺณฺธมฺโม พระครูสมีห์ธนโชติ จิรธมฺโม, ทรงศักดิ์ พรมีดี. ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก.วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. ปีที่ 12 ฉบับัที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564).

พระสุกรี ยโสธโร, จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ, จรัส ลีกา, อุทัย กมลศิลป์, สุรพันธ์ สุวรรณศรี.การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ประยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จากัด 2553.

ศึกษาธิการ, กรม. มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 13 กัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2531.