ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าในการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ไพฑูรย์ อุทัยคาม
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าในการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษในพระพุทธศาสนาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่า สันโดษ หมายถึง ความยินดีหรือพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ กล่าวคือ 1) ยถาลาภสันโดษ คือ ยินดีตามที่ได้ 2) ยถาพลสันโดษ คือ ความยินดีพอใจตามกำลังของตน 3) ยถาสารุปปสันโดษ คือ ยินดีตามสมควรเหมาะสมกับตน และ 4) สทารสันโดษ คือ ยินดีในภรรยาของตน การใช้หลักสันโดษในการดำเนินชีวิตคือยินดีด้วยปัจจัยตามได้ ตามกำลัง ตามสมควร และยินดีในคู่ครองของตน ไม่ยึดติด ไม่โลภ แสวงหาเกินฐานะของตนเอง ทำให้ไม่เกิดความกังวลในการดำเนินชีวิต คุณค่าในการดำเนินชีวิตตามหลักสันโดษ ได้แก่ 1) การใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความหนาวและความร้อน การบริโภคอาหารเพื่อระงับความหิวที่เกิดขึ้น มีที่อยู่อาศัยเพื่อหลบแดดฝนและสัตว์เลื้อยคลาน และมียารักษาโรค เพื่อบรรเทาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 2) ใช้เครื่องนุ่งห่มตามกำลังของตนอย่างเหมาะสม บริโภคอาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ความต้องการทางกายและจิตถูกชักนำไปด้วยวัตถุอันเป็นสิ่งยั่วยวนของกิเลส ตัณหา มีที่อยู่อาศัยตามกำลังของตน และการใช้ยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ อันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกขเวทนา 3) ยินดีกับเครื่องนุ่งห่มตามสมควรแก่ตน บริโภคเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ ยินดีกับที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู หรือเพื่อหลีกเร้นสำหรับภาวนา และการรู้จักใช้ยาเพื่อบรรเทาโรคต่าง ๆ 4) ยินดีในคู่ครองของตนควบคู่กับงดเว้นการประพฤติผิดในกาม เพื่อลดความสำส่อนในเรื่องกาม และเพื่อความปลอดภัยในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนภณ สมหวัง. “สันโดษ สินทรัพย์ที่ต้องแปลงเป็นทุน”. ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (25 พฤษภาคม 2547): 19.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). จาริกบุญ-จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทพิมพ์สวย, 2549.

__________. การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable development. กรุงเทพมหานคร: ปูนซีเมนต์เอเซีย, 2550.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร. สันโดษกับความรับผิดชอบต่อสังคม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://gjn.mcu.ac.th/?p=2034 [20 กุมภาพันธ์ 2563].

พระสาธิต จิตปญฺโญ (สิงห์โตทอง). “การปฏิบัติตามหลักสันโดษของชาวบ้าน บ้านหนองข่า ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. กำเนิดประเทศไทยภายใต้เผด็จการ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://books.google.co.th/books? [12 เมษายน 2564].

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฐเตปิฎกํ 2525. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.

ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล. ปัญหาของมนุษย์อันเกิดจากการไม่สันโดษ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.vcharkarn.com/blog/87746/84572 [20 กุมภาพันธ์ 2559].

สุวรรณ เพชรนิล. พุทธปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.

P. Rinchakorn. หลักสันโดษ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org /posts/394055 [20 พฤศจิกายน 2563].