กุศโลบายในการสอนธรรมจากการสักยันต์ในสังคมไทย

Main Article Content

พระอธิการอาทิตย์ อาทโร
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “กุศโลบายในการสอนธรรมจากการสักยันต์ในสังคมไทย” 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อเรื่องการสักยันต์ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อความเชื่อเรื่องการสักยันต์และ 3) เพื่อศึกษากุศโลบายในการสอนธรรมผ่านการสักยันต์ของพระเกจิอาจารย์ในสังคมไทย การวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) คติความเชื่อในเรื่องการสักยันต์ของคนในสังคมอดีต มีความต้องการสักยันต์เพื่อปกป้องภัยอันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ความเป็นลูกผู้ชาย และศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและความคิดทางไสยศาสตร์ ไสยเวทย์ คาถาอาคมของพระเถระ โดยความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นระบบความคิด ความเชื่อมีพัฒนาการมาตั้งแต่อดีต เป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่ผูกพันกับจิตใจของคนทั้งหลายและสังคม ความเชื่อถือในการสักยันต์เป็นรูปแบบที่แฝงด้วยหลักธรรมเพื่อการประพฤติปฏิบัติธรรม ผ่านสัญลักษณ์ของยันต์ที่สื่อถึงพุทธคุณและพุทธศาสนา 2) อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการสักยันต์ คือการใช้เป็นสื่อการเรียนรู้และพัฒนาจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงเรื่องราว และคุณธรรมของพระพุทธเจ้า พุทธสาวก และที่สำคัญคือหลักธรรม คือการถือสัจจะในการดำเนินชีวิตตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา โดยให้ยึดถือปฏิบัติโดยไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และต้องทำตามข้อปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้การสักยันต์เป็นสื่อการปฏิบัติตนตามหลักธรรม 3) การสักยันต์กับสังคมไทยในสมัยเก่ามีสืบต่อจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับความนิยมในหมู่ชายไทย ที่มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาต่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ  จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การสักยันต์ ถือเป็นเครื่องรางของขลังอย่างหนึ่งในด้านของไสยศาสตร์ ด้านความศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดมีขึ้นและมีคุณค่าทางด้านการสร้างสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ในรูปแบบของการนำหลักธรรมมาเขียนลงบนผิวหนังของคนเพื่อเป็นกุศโลบายสร้างพุทธานุสสติและธัมมานุสสติเพื่อการประพฤติธรรม มีโดยการรักษากายวาจา และจิตให้เป็นปกติโดยการทำความดี ละเว้นความชั่ว การถือศีล 5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ญาณ ทัศนา. ตำนานจอมขมังเวทย์ ไสยศาสตร์ อิทธิฤทธิ์แห่งความขลัง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีอาร์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2555.

พระพงศ์ธนา ธิราช และ พระมหาชิต โต้งกระโทก. “วิปัสสนาภาวนาตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในอาสีวิโสปมสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2565): 178-184.

พระสมชาย บัวแก้ว, พระมหาบุญศรี วงค์แก้ว และ สุเชาวน์ พลอยชุม. “อภิสมาจารกระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวพระพุทธศาสนา”, วารสารศิลปะการจัดการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2564): 895-907.

ประเทิน มหาขันธ์. ศิลปะการสักลาย. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2534.

ภัทรพล ภูริดำรงกุล. ผู้หญิงกับการสักยันต์: กระแสแฟชั่นหรือการพยายามสร้างอัตลักษณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

เมฆา วิรุฬหก. ตำนานความเชื่อเรื่อง “รอยสัก” มาจากอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.silpa-mag.com/culture/article_2456 [23 มีนาคม 2565].

สมศักดิ์ ตันรัตนากร. “การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ” RamaLaser.mahidol.ac.th คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.med.mahidol.ac.th/ramalaser/th/knowledge/tattoo4. [20 มีนาคม 2565].

สุทธิพงศ์ วงศ์พิศาล. “ตำนานแห่งรอยสักศิลปะบนเรือนร่างของมนุษย์”. วารสารศิลปะวัฒนธรรม. ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2539): 168-170.

อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ. 108 ยันต์ ฉบับพิสดาร. กรุงเทพมหานคร: ส.ธรรมภักดี, 2521.

Tan, Chai Ching & Damnoen, Phrapalad Somchai. “Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors”. Journal of MCU Peace Studies. Vol. 8 No. 1 (2020): 1–20.

Yusamran, Phrapalad Prapoj, Thitipasitthikorn, Pramaha Prakasit, Damnoen, Phrapalad Somchai, Thienthong, Phrakhru Pathomthirawat, Rattana-ngam, Sainamphueng, & Homchan, Piyawan. Conservative and Inheritance of Atthami Bucha Day for Sustainable Promotion Tourism. Journal of Positive Psychology and Wellbeing. Vol. 5 No. 3 (2021): 1400–1410.