การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วนิดา กำพลรัตน์
ระวิง เรืองสังข์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมพบว่า  ด้านผู้เรียน: นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรู้ได้ช้า ทำให้เสียเวลาในการอธิบายในชั้นเรียน นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรู้ได้ช้า ทำให้เสียเวลาในการอธิบายในชั้นเรียน ด้านเนื้อหาวิชา: มีการวัดและประเมินผลขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพความบกพร่องของเด็กแต่ละคน ด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้ อุปกรณ์: สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกอาคารสถานที่ขาดความเหมาะสมกับเด็กพิเศษประเภทต่าง ๆ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้: การจัดห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย อีกทั้งการจัดให้มีห้องเรียนให้มีแสงสว่างตามเกณฑ์มาตรฐาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน: ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเชา หรืออาหารกลางวัน
สวนทางด้านตัวผู้สอนนั้นอาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว เศรษฐกิจ และ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด  ได้แก่ ด้านความถูกต้อง และเมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยนต่ำที่สุด ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๒). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย,

วิจารณ์ พานิช. (๒๕๕๕). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

วิภาดา พินลา, “กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาเพื่อปลูกฝังจริยธรรมในผู้เรียนยุคศตวรรษที่ ๒๑”, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม – เมษายน ๒๕๕๙

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร, โรคใหม่ สร้าง โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19 [ออนไลน์] : https://www.the101.world/future-of-thai-education-after-covid19/ [๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๓]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-๑๙, [ออนไลน์] : https://resourcecenter.thaihealth.or.th/ [๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๓]

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๔). รายงานการอภิปรายเรื่อง พุทธธรรมนำการศึกษาได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: สกศ.,.