การดำเนินโครงการฝึกอบรมธรรมทายาท: ศึกษากรณวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการโครงการฝึกอบรมธรรมทายาทของวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลกับการดำเนินการโครงการฝึกอบรมธรรมทายาทของวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการโครงการฝึกอบรมธรรมทายาทของวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม (Questionnaire) 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินการโครงการฝึกอบรมธรรมทายาทของวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.83) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างโครงการฝึกอบรมธรรมทายาทของวัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยรวม 4 ด้าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการเข้าอบรม และจุดประสงค์ในการเข้าอบรม โดยภาพรวม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา จุดประสงค์ในการเข้าอบรม มีค่าสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประสบการณ์ในการเข้าอบรม ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การประชาสัมพันธ์โครงการล่วงหน้าก่อนเปิดการอบรม เพื่อให้บิดามารดาและผู้ปกครองได้รับทราบ และมีส่วนร่วมในการตัดสินเข้าฝึกอบรม ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาได้สนับสนุนโครงการ อีกทั้งจะเป็นการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเข้าร่วม ในด้านความรู้ ความเข้าใจและความพึงพอใจ ธรรมทายาทมีความรู้ ความเข้าใจและความพึงพอใจระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระมหาไพรัช ปญฺาพโล (ขุนพรหม). “วิธีการของวัดที่มีต่อการปลูกฝังจริยธรรมในเยาวชน (ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีวัดชลประทานรังสฤษฎ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี)”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.