การจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียน

Main Article Content

อัจฉราพร ฉากครบุรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “การจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียน” ครูผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจจนทำให้เกิดจิตสำนึก และเกิดแรงจูงใจให้นักเรียนสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เห็น จนเกิดทักษะทางคุณธรรมจริยธรรมที่มั่นคงในจิตใจ รวมทั้งการวัดและประเมินผลของครูผู้สอนควรมีเทคนิควิธีการวัดและประเมินผลนักเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องเหมาะสมกับการเรียนรู้และการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้เรียนได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้สอนหรือครูผู้สอนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนตามหลักพุทธธรรม ซึ่งเป็นคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาสู่นักเรียนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมไปในทิศทางที่ถูกต้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนและเป็นการปลูกฝังหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ที่มีความกลมกลืนภายใต้สภาพแวดล้อมของสังคมและวัฒนธรรมแบบวิถีพุทธในการจัดการเรียนการสอนทั้ง 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยครูผู้สอนต้องสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมลงไปในกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กและเยาวชน จึงถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญสำหรับครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวกับในรายวิชาที่มีสาระทางด้านศาสนาและคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในหลักสูตรอยู่แล้วนั้นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). การอบรมคุณธรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร. กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์.

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2539). เมืองไทยในความใฝ่ฝันของนักคิดอาวุโส. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ]. 2539. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.

คำสอนพ่อ. (2549). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดาเนินชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2523). จิตวิทยาการปลูกฝังวินัยแห่งตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถาวร สารวิทย์.(2523). อุตสาหกรรมศิลป์ สำหรับครูประถมศึกษา และมัธยมศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

ปิ่น มุทุกันต์. (2539). แนวการสอนธรรมะตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. แห่งชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). “พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม”. พุทธจักรปีที่ 51. ฉบับที่ 8. สิงหาคม

..................... (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟเคอร์มีสท์.

พิพัฒน์ วิเชียรสุวรรณ. (2540). แผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร:เดอะบุคส์.

พุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2527). คุณธรรมสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

ยุพิน พิพิธกุล และอรพรรณ ตันบรรจง. (2536). เทคโนโลยีในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

ธีรยุทธ พึ่งเทียร. รศ.ดร. (2557). คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2543). เทคนิคการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันเพ็ญ จันทร์เจริญ. (2542). การเรียนการสอนปัจจุบัน. สกลนคร: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏสกลนคร.

สมภพ ชีวรัฐพัฒน์. (2540). มงคลกับคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: นานาสิ่งพิมพ์.

สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2544). การออกแบบการสอน Instructional design. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ มูลคำ. (2541). ครบเครื่องเรื่องวิทยากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ตวงกมลสมัย.