กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม สำหรับสถานศึกษาในยุคดิสรัปชั่น

Main Article Content

สุพัตรา เจริญนา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรมสำหรับสถานศึกษาในยุคดิสรัปชั่น อันเป็นการบริหารสถานศึกษาที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สถานศึกษาเป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนของชาติประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย ถือว่าเป็นองค์กรหนึ่งในสังคมจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ เมื่อเทคโนโลยีมีผลต่อการดำเนินชีวิตย่อมส่งผลให้จิตใจของบุคลากรถดถอยลงจึงอาจก่อเกิดเป็นชนวนในความขัดแย้งเกิดขึ้น หากสามารถเข้าใจบทบาทรู้เทคนิควิธีสามารถใช้วิธีการแก้ไขอย่างเหมาะสมให้เหมาะกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตั้งอยู่บน ความเที่ยงธรรม ความถูกต้อง มีคุณธรรมจริยธรรมและยอมรับเหตุผลในการแก้ไขความขัดแย้งนั้นด้วยกันทุกฝ่ายโดยปราศจากเงื่อนไข ระหว่างบุคคล ระหว่างองค์กรด้วยกันจึงต้องรู้ความหมายความขัดแย้ง สาเหตุที่เกิดตลอดจนผลกระทบ โดยพิจารณาจากทักษะการบริหารความขัดแย้งได้กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้ง ๕ กลยุทธ์สำคัญคือ ๑) กลยุทธ์การหลีกเลี่ยง ๒) กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบ ๓) กลยุทธ์ปรองดอง ๔) กลยุทธ์ความร่วมมือ ๕) กลยุทธ์ประนีประนอม กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งดังกล่าวสามารถนำมาบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ หลักสาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความ เคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มี ๖ อย่าง ได้แก่ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา สารานียธรรมทั้ง ๖ ข้อ เสมือนบัญญัติ ๖ ประการเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข สงบสุข และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะท่ามกลางกระแสโลกที่หมุนไปในยุคดิสรัปชั่น (Disruption)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ผู้จัดการออนไลน์. สะท้ออนาคตเด็กไทยด้วยวิชาปรับตัวในโลกยุค “ดิสรัปชั่น”. ข้อมูลออนไลน์ เข้าถึงเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ttps://mgronline.com/celebonline/detail/9630000001294

พรนพ พุกกะพันธุ์. การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : ว.เพ็ชรสกุล. ๒๕๔๒

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยงยุทธ เกษสาคร. ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: เอสแอนด์จีกราฟฟิค.

รัตนากรณ์ วัฒนศัพท์ และวันชัย วัฒนสัพท์. (2548). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

วิชานนท์ เทียมทะนง. พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒. วิทยานิพนธ์ครุสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ๒๕๖๔ หน้า ๑

วีรวัฒน์ พัฒนกุลชัย. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งในนโยบายกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๔ หน้า ๗

สมิต สัชฌุกร. การบริหารความขัดแย้ง [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http:/www.tpa.or.thwriter/read this_booktopic.php?passTo=0f479457ee38074ece5d6 ๒๕๕๐.

สามารถ มังสัง. สาราณียธรรม ๖ หลักการในการอยู่ร่วมกัน .ผู้จัดการรายวัน ข้อมูลออนไลน์ เข้าถึงเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๕ttps://mgronline.com/daily/detail/9620000029668

สิญาธร นาคพิน. การบริหารความขัดแย้งในองค์กรภาครัฐ ยุคประเทศไทย ๔.๐. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่๖ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๒)

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Joumal of Modern Learning Development ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๖๓

Rahim. 2002. Conflict management[online]. Available from : http"/len.wikipedia.org/wiki/Conflict_management [April,2011].