สัปปุริสธรรม 7 : การบริหารงานบุคคล

Main Article Content

พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการเรื่องสัปปุริสธรรม 7 : การบริหารงานบุคคล พบว่า    การบริหารงานบุคคล เป็นการบริหารทางด้านการวางแผน การอำนวยการ และการควบคุมหน้าที่ต่าง ๆ ให้ได้มาได้ใช้ประโยชน์และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรด้านมนุษย์ที่มีคุณภาพ    และมีปริมาณเพียงพอ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ หลักการบริหารงานบุคคลควรที่จะต้องบริหารงานโดยมีการยืดหยุ่น มีความยุติธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ยังทันสมัยอยู่จนถึงปัจจุบันและในอนาคตในการบริหารจัดการ ได้แก่ สัปปุริสธรรม


การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคล คือ1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ ผู้บริหารจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องในการสรรหา วางอัตรากำลัง การพัฒนา การบำรุงรักษา การประเมินบุคคลากร 2) ความเป็นผู้รู้จักผล คือ การบริหารงานให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และรู้ถึงประโยชน์ที่นำไปสู่ความมั่นคง 3) ความเป็นผู้รู้จักตน คือ รู้จักพัฒนาบุคคลากรให้ทันต่อเหตุการณ์ 4) ความผู้รู้จักประมาณ คือ การวางอัตรากำลังโดยการมอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถ 5) ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา คือ การประเมินบุคคลากรต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม 6) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน คือ การบำรุงรักษาบุคคลกรด้วยการสร้างความสัมพันธ์ด้วยเมตตา 7) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ การมอบหมายงานตามความเหมาะสม ความสามารถของบุคคล บำรุงรักษาบุคลากรอย่างเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2564.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม 7 กับการบริหารงานสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2562: 98.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. ศัพท์รัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.

ธวัชชัย วัฒนาธนกิจ. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2564.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธวิธีในการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

พระประภาส ปญฺญาคโม (ดอกไม้). การบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4, 2563: 3

มยุรี อนุมานราชธน. นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2564.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. การจัดการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว, 2564.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด, 2564.

สมิต สัชฌุกร. การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: สายธาร, 2564.

สุดา สุวรรณาภิรมย์. การบริหารงานบุคคล (Personenl management). (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.

สมเกียรติ พ่วงรอง. การบริหางานบุคคล. (ปัตตานี: คณะศึกษาศาสนชตร์ มหาาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564.

อำนวย แสงสว่าง. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ, 2564.

Mondy. W.R. and Noe. R.M.. Human Resource Management, p.175.