อิทธิบาท 4 : การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนนอกระบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอประเด็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา การบริหารงานวิชาการ เป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษา ถือเป็นหัวใจในการบริหารงานของโรงเรียน เป็นภารกิจที่สำคัญผู้บริหารจะต้องเตรียมการวางแผนสิ่งต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดีถูกต้องเหมาะสมเพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลาย
อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จ ดังนั้น การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนนอกระบบตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1) ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในการทำงาน ผู้บริหารควรมีความรัก ความพอใจในงานบริหาร 2) วิริยะ ความเพียรพยายามในการทำงาน ผู้บริหารต้องมีความขยันแข็งแรง พากเพียรพยายามค้นหาความรู้ เทคนิคการบริหารมาบริหาร 3) จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในการทำงาน ผู้บริหารต้องใส่ใจฝักใฝ่รับผิดชอบทุกอย่างในโรงเรียน 4) วิมังสา การพิจารณาใคร่ครวญเหตุผลเห่งความสำเร็จของงาน ผู้บริหารต้องไตร่ตรองและให้เหตุผล ใช้สติปัญญาพิจารณาคิดหาเหตุผล รู้จักวิธีการบริหารงาน การบริหารโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กมล ภู่ประเสริฐ. การบริหารวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิปส์ พับบิลิเคชั่น, 2562.
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, 2551.
จีรวัฒน์ มั่นคงวัฒนะ. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org[30 กันยายน 2565].
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร: สอนสื่อเสริม, 2562.
พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ). งาน คือ ชีวิต ชีวิต คือ งานบันดาลสุข. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม, 2563.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). ธรรมะกับการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ, 2563.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). “อิทธิปาทกถา” พุทธจักร. กรุงเพทมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2539.
พุทธทาสภิกขุ. ฆราวาสธรรม. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ. 2564.
ไพฑูรย์ สินลารันต์. ความรู้คู่คุณธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2562.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 32 ง 8 ธันวาคม 2558.
โรงเรียนเอกชนนอกระบบกำลังเปลี่ยนไป. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://siamrath.co.th[30 กันยายน 2565].
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. ประสบความสำเร็จในการบริหารโดยยึดหลักอิทธิบาท 4. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=328392[30 กันยายน 2565].
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย. “หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ส.ก.ส.ค.ลาดพร้าว, 2554.
Gorton. School Leadership and Administration : Important Concept Case Studies, and Simulation. Dubuque. Iowa : Wm. C. Brown. 1983.