อิทธิบาท 4 : การบริหารงานวิชาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารงานวิชาการ เป็นกระบวนการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียนร่วมกับครู ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทุกอย่างของสถานศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียน เป็นตัวกำหนดความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำองค์กร ผลงานวิชาการเป็นหัวใจของสถาบันการศึกษาทุกระดับ งานวิชาการจะสัมฤทธิ์ผลเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้บริหาร
อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรม 4 ประการที่เป็นฐานนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 คือ 1) ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ คือ มีใจรักในการพัฒนา หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวิจัย แหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 2) วิริยะ หมายถึง ความเพียร คือ มีความขยันหมั่นเพียรพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ การวิจัย แหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี การวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียน ระบบประกันคุณภาพ 3) จิตตะ หมายถึง จิตจดจ่อ คือ มุ่งมั่นที่จะพัฒนา ไม่ท้อแท้ ถดถอยต่อปัญหาและอุปสรรค 4) วิมังสา หมายถึง ความไตร่ตรอง ทดสอบ ทดลอง พินิจพิจารณา คือ พัฒนาการเรียนรู้จากการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียน การวิจัยเพื่อคุณภาพทางการศึกษา โดยประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น เพื่อนำมาทดลองในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กมล ธิโสภา. อุดมศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.
ชรินรัตน์ พุ่มเกษม. “สมรรถนะของคนไทยกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”. วารสาร
การศึกษาไทย. 2565: 11(116), 2565: 1
ธีระ รุญเจริญ. ปราชญา กล้าผจัญ และสัมมนา รธนิย์. การบริหารเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้.
กรุงเทพมหานคร:ข้าวฟ่าง, 2564.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สุเนตรฟิล์ม, 2564.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
รุ่ง แก้วแดง. การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
สมเดช สีแสง. คู่มือการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. นครสวรรค์ : ริมปิงการพิมพ์, 2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการบริหารสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา, 2546.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2556.
อำภา บุญช่วย. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2537.