แนวทางการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี จังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสักกายทิฏฐิในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิ และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิ ของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมีตัวตน เป็นทิฎฐิเจตสิกเกิดร่วมกับโลภมูลจิต เรียกว่าสักกายทิฏฐิสังโยชน์ที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์ จัดป็นอกุศลธรรมและความลุ่มหลงขันธ์ ๕ 2) การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิ คือ การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันตามหลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งอาศัยหลักการเข้าถึงธรรม คือ การได้ฟังธรรมของพระอริยะ เห็นความทุกข์ มีหิริโอตตัปปะ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน และมนสิการสักกายนิโรธ ย่อมละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ และ 3) แนวทางการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อละสักกายทิฏฐิของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี เป็นการนำหลักการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎกเพื่อละสักกายทิฏฐิ ที่พระภาวนาพิศาลเมธี (ประเสริฐ มนฺตเสวี) ได้นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ คือบันได ๗ ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เห็นรูป-เห็นนาม ใช้ปัญญาแยกรูป-นาม โดยกำหนดรู้ทุกขสัจ ขั้นที่ 2 พิจารณารูปนาม คือ พิจารณาสภาวะไตรลักษณ์ด้วยจินตาญาณ ขั้นที่ 3 เห็นความไม่เที่ยงของรูปนาม ที่เป็นเหตุดับของรูปนาม ขั้นที่ 4 เห็นความเป็นทุกข์ของรูปนามโดยความเป็นภัย ของสังขาร ขั้นที่ 5 เห็นความไม่ใช่ตัวตนของรูปนาม ว่าว่างจากอำนาจบังคับ ต้องการพ้นจากรูป-นามที่กำหนดรู้ ขั้นที่ 6 วางเฉยต่อรูปนาม มีใจเป็นกลางในรูป-นาม ขั้นที่ 7 สลัดคืนรูปนาม คือ ปัญญาพิจารณาเป็นเครื่องออกจากกองสังขาร เรียกว่า วุฏฐานคามีนี เป็นการสลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามคือขันธ์ 5 เป็นสมุจเฉทปหาน น้อมนิพพานมาเป็นอารมณ์ เป็นการกำหนดรู้อริยสัจ ๔ จนเกิดมัคคสมังคีสมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ,กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
_________.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ ปธ. 9). เพชรในดวงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2543.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ.(ประเสริฐ มนฺตเสวี). ลำดับการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แนวธรรมานุสารี. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์. 2564.
พระสุมังคลสามิเถระ. อภิธัมมัตถวิภาวินี มณิสารมัญชูสาฏีกา ภาค 1. อ. เสรี อาจสาคร แปล. 2551.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. กรุงเพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์. 2554.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). วิปัสสนานัย เล่ม 1. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์. 2555.