การศึกษาเชิงวิเคราะห์การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ

Main Article Content

พระมหาวรัญธรณ์ ญาณกิตฺติ
แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน คัมภีร์ลลิตวิสตระ และหนังสือพุทธจริต ซึ่งระบุว่า เจ้าชายสิทธัตถะประสูติออกจากพระครรภ์ของพระมารดาทางพระปรัศว์เบื้องขวา ผลการศึกษาพบว่า 1) เจ้าชายสิทธัตถะเป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นเทพเจ้า 2) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเป็นมนุษย์ เจ้าชายสิทธัตถะจะต้องประสูติเหมือนมนุษย์ทั่วไปตามหลักการคลอดทางการแพทย์ 3) พระโพธิสัตว์ทั้งปวง ประสูติออกจากพระครรภ์ของพระมารดาผ่านช่องโยนีโดยไม่ติดขัดที่ส่วนของโยนี เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์ ฉะนั้น เจ้าชายสิทธัตถะจึงต้องประสูติเหมือนพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ดังนั้น การศึกษา       ในครั้งนี้จึงได้ข้อสรุปว่า เรื่องราวการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน      คัมภีร์ลลิตวิสตระ และหนังสือพุทธจริต ไม่ใช่ความจริง แต่ท่านผู้รจนาคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน คัมภีร์ลลิตวิสตระ และหนังสือพุทธจริต ได้เขียนเรื่องราวพุทธประวัติในลักษณะที่มีอิทธิปาฏิหาริย์เช่นนี้     ก็เพื่อที่จะดึงดูดศรัทธาของประชาชนให้หันเข้ามานับถือพระพุทธศาสนาและแข่งขันกับศาสนาพราหมณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. คัมภีร์ลลิตวิสตระ พุทธประวัติฝ่ายมหายาน. ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนูญ แปลเป็นภาษาไทย. กรมศิลปากรจัดพิมพ์, 2512.

งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. “การคลอดคืออะไร”. สุขภาพน่ารู้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thatoomhsp.com/userfiles.pdf [1 ตุลาคม 2564].

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2559.

พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอกพิมพ์ไท จำกัด, 2557.

พระราชปริยัติกวี. พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย พัฒนาการและสารัตถธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

มหากวีอัศวโฆษ. พุทธจริต มหากาพย์มหาศาสดาโลก. แปลโดย รศ.ดร. สำเนียง เลื่อมใส. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2564.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

______¬¬____ลีนตฺถปฺปกาสินี มหาวคฺคฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2536.

__________อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.

มูลนิธิสันสกฤตศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. มหาวัสตุอวทาน คัมภีร์พระพุทธศาสนามหายาน เล่ม 2. แปลโดย รศ.ดร. สำเนียง เลื่อมใส. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2557.

รงรอง วงศ์โอบโอ้ม. ประวัติศาสตร์อินเดีย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด, 2561.

ริกนก กลั่นขจร. “กลไกการคลอด/ กระบวนการคลอด”. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา 501413 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2. คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2562.

ศศิวรรณ กำลังสินเสริม.“การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ลลิตวิสตระ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระนาครชุนกับคำสอนว่าด้วยทางสายกลาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม, 2548.

เสถียร โพธินันทะ. ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2539.

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. ชีวิตและผลงานของนักปราชญ์พุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: หจก.อภิชาติการพิมพ์, 2557.