บทบาทของศาลเจ้ากับชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ ความเชื่อ พิธีกรรม การจัดองค์กร การดำเนินงานของศาลเจ้า โรงเจในจังหวัดอ่างทอง และศึกษาบทบาทของศาลเจ้า โรงเจที่มีต่อชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน และสังคม ผลการวิจัยพบว่าความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอ่างทองมีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อในเทพเจ้าจีน ลัทธิเต๋า พุทธศาสนาเถรวาท และมหายาน ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และการนับผี พิธีกรรม ประเพณีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้า และโรงเจ ซึ่งปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอ่างทองยังรักษาความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้ โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอ่างทอง แสดงให้เห็นถึงการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมในการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างชาวไทยเชื้อสายจีนกับชาวไทย ซึ่งเป็นแบบแผนที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ความเชื่อในเทพเจ้าทำให้เกิดประเพณีซึ่งแสดงให้เห็นระบบสัญลักษณ์ เป็นการแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึก และเป็นการแสดงออกถึงการเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน พิจารณาในมิติด้านเศรษฐกิจ การประกอบพิธีกรรม ประเพณีทำให้เกิดรายได้ทั้งกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน และสังคมภายนอก ยังปรากฏว่าพิธีกรรม ประเพณีช่วยหารายได้ให้กับองค์การไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งโดยศาลเจ้า ศาลเจ้าบางแห่งใช้ที่ดิน อาคารของศาลเจ้าเพื่อหารายได้ ในมิติด้านสังคม องค์การไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งโดยศาลเจ้า โรงเจ มีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การฯ โดยองค์การฯ และผู้นำองค์การฯ มีความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การทางศาสนา ชุมชน ฯลฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ศาลเจ้า 100 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด. 2563.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 2543.
จารุภัทร์ ธีฆัมพร. ศาลเจ้าพ่อกวนอูวิเศษชัยชาญ ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. อ่างทอง: วรศิลป์การพิมพ์ 89 (แดง). 2550.
จีราภรณ์ สรวลเสน่ห์. ผู้ดูแลศาลเจ้ากวนอิมเนี่ยเนี้ย. (27 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้งมูลนิธิ “มูลนิธิการกุศลวิเศษไชยชาญ” เป็นนิติบุคคล พุทธศักราช 2506, (2506, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 80.
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์. ผู้ร้ายบางกอก. กรุงเทพมหานคร: เอี่ยมกระสินธุ์. 2558.
ชัยรัตน์ สาธุเสน. คณะกรรมการศาลเจ้าอ่างทอง (กวนอู). (20 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.
ธนบดี มาลัยศิริรัตน์. คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อกวนอู วิเศษชัยชาญ. (19 มกราคม 2565). สัมภาษณ์.
บรรลือ อัศวานุวัตร. ประธานโรงเจเพ่งอังตั๊ว ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิธรรมสถานโรงเจเพ่งอังตั๊ว. (20 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.
บูร์ดิเยอ, ปิแยร์. เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: คบไฟ. 2550.
ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอ่างทอง เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิธรรมสถานโรงเจเพ่ง
อังตั๊ว” พุทธศักราช 2556, (2556, 13 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130.
ประยูร รักซ้อน. ผู้เช่าที่ดินศาลเจ้ากวนอิมเนี่ยเนี้ย. (24 พฤษภาคม 2565). สัมภาษณ์.
พิพัฒนธนากร, พระยา. ในงานฝังศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์). พระนคร: ม.ป.ท. 2497.
พรพรรณ จันทโรนานนท์. วิถีจีน. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาส์น. 2546.
ยุวรัตน์ ผลทรัพย์. ผู้ดูแลศาลเจ้ากวนอิมเนี่ยเนี้ย. (2 กุมภาพันธ์ 2565). สัมภาษณ์.
เรืองชัย ลิ้มบูรณพันธ์. คณะกรรมการมูลนิธิธรรมสถานโรงเจเพ่งอังตั๊ว และคณะกรรมการศาลเจ้าอ่างทอง (กวนอู). (20 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.
วชิรา เอื้ออารีกาญจนา. นักดนตรี คณะตั่วหล่อโก้ว มูลนิธิการกุศลวิเศษไชยชาญ (27 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
สง่า ติยานนท์. ผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโรงเจไช่เต็งตั๊ว. (16 กุมภาพันธ์ 2565). สัมภาษณ์.
สมบูรณ์ ไพรัชเวชภัณฑ์. ประธานกรรมการมูลนิธิธรรมสถานโรงเจเพ่งอังตั๊ว. (20 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.
สมศักดิ์ ชอบทำดี. ผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้าพ่อกวนอู ศาลเจ้าบุญเท่ากง และเลขานุการมูลนิธิการกุศลวิเศษไชยชาญ. (27 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ทำเนียบทะเบียนศาลเจ้าทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เดอะสยาม เฮอริเทจ จำกัด. 2542.
สำรวย สุทธิพงศ์เกียรติ์. กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิธรรมสถานโรงเจเพ่งอังตั๊ว. (20 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.
อคิน ระพีพัฒน์. วัฒนธรรมคือความหมาย: ทฤษฏีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2551.
Lewis, D. Non-Governmental Organizations, Management and Development. (3rd ed.). London: Routledge. 2014.
Turner, V. The Ritual Process: Structure and Anti – Structure. Chicago: Aldine ublishing Company. 1970.