การขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระบุญช่วย ฐิตจิตฺโต (ยังสามารถ)
พระครูวินัยธรบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป้นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี 2.) เพื่อศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี  3.) เพื่อนำเสนอ รูปการในการขับเคลื่อนชุมชนวิถีพุทธด้วยการมีส่วนร่วมพลัง บ-ว-ช ในอำเภอสารภี   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มจำนวน 30 รูป/คนโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่าการขับเคลื่อนโดยนำอัตลักษณ์ชุมชนวิถีพุทธต้นแบบ 12 ตำบลในอำเภอสารภี สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ชุมชนชาวพุทธล้านนาที่เป็นวิถีคนพื้นเมือง และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อพยพมาอยู่ในล้านนา ในชุมชนหมู่บ้านแต่ละตำบลพื้นที่บริบ ทั้งนี้ ชุมชนวิถีพุทธ ชาวพุทธทุกชุมชนมีอัตลักษณ์เฉพาะตน ไม่ว่าจะเป็นภาษา อาหารการแต่งกาย และมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความโดดเด่นเฉพาะหลักธรรมเพื่อการเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนวิถีพุทธ ชาวพุทธในล้านนา โดยแบ่งกลุ่มหลักธรรมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ หลักคติธรรม ประกอบด้วยอริสัจ 4 หลักเนติธรรม ประกอบด้วยหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และศีล 5  หลักวัตถุธรรม ประกอบด้วย หลักสัปปายะ 4  หลักสหธรรม ประกอบด้วย สังคหวัตถุ 4การขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนวิถีพุทธ ชาวพุทธล้านนาด้วยหลักธรรม สามารถสรุปได้ว่า มีการเสริมสร้างด้วยกัน 2 ส่วน คือชุมชนวิถีพุทธ 12 ตำบลในอำเภอสารภี ชาวพุทธในล้านนาได้มีความตระหนักรู้ในหลักธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติตนในฐานะเป็นชาวพุทธ และชุมชนวิถีพุทธ ชาวพุทธล้านนาตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่เกิดผลประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตนอกจากการตระหนักรู้ในคุณค่าต่อตนเองแล้วยัง รักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อีกด้วย รูปแบบการการขับเคลื่อน เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนวิถีพุทธ 12 ตำบลต้นแบบ ในอำเภอสารภี ชาวพุทธล้านนา สรุปองค์ความรู้ได้เป็น MCC MODEL ซึ่งประกอบด้วย Norm คือ จารีต Tradition คือ ประเพณี Actualting คือ ความเป็นจริงปัจจุบัน Peace คือ ความสงบสันติภาพ  Pilo  คือ การขับเคลื่อนต่อทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นคนหรือวัตถุที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต จึงทำให้อัตลักษณ์ของชุมชนวิถีพุทธชาวพุทธล้านนาเข้มแข็งและได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาราช

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.คู่มือส่งเสริมและพัฒนา องค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด. 2562)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549), (กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545),หน้า 37.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), การศึกษาเพื่อสันติภาพ, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, 2537), หน้า 2