การตัดสินใจของผู้บริหารกับการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2) ผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจของผู้บริหารกับผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 103 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ครูผู้รับผิดชอบด้านงบประมาณ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหาร ตามแนวคิดของกอร์ดอน (Gordon) และผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา ตามแนวของ ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ร้อยละ มัชฌิมเชขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยเรียงจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การตัดสินใจหรือการเลือกทางเลือก การประเมินผลการตัดสินใจ การวิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การค้นหาทางเลือก และการประเมินผลทางเลือก ตามลำดับ 2) ผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยเรียงจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การวางแผนงบประมาณ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน และการคำนวณต้นทุนผลผลิต ตามลำดับ 3) การตัดสินใจของผู้บริหารกับการผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในลักษณะคล้อยตามกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด, 2544.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2560.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, 2561.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
Best John W. Research in Education. Englewood Cliffs: New Jersey: Prentice Hall,1970.
Cronbach Lee J. Essential of Psychological testing. 3rd ed. Newyork: Harper & Row
Publisher,1974.
Gordon Judith R. Organizational Behavior : A Diagnostic Approach, 7th New Jersey:
Prentice – Hall, Inc., 2002.
Krejcie Robert V., and Morgan Daryle W., “Determining Sample Size for Research
Activities”. Journal for Education and Phychological Measurement, 1970.
Likert Rensis. New Patterns of management.Tokyo:McGrew- Hill Book company,1961
William Wiersma Dennis E. and Jurs Stephen G. Applied Statistics for the Behavior Sciences, 4th ed. New York: Houghton Mifflin, 1998.