การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักมงคลสูตรเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักมงคลสูตรเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามศาสตร์สมัยใหม่ (2) เพื่อศึกษาหลักมงคลสูตรที่เกื้อหนุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา (3) เพื่อนนำเสนอการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักมงคลสูตรเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามศาสตร์สมัยใหม่ทฤษฎีของมาสโลว์ เป็นการมุ่งเน้นศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดกระบวนการสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของมนุษย์ ซึ่งมีความเป็นพลวัตเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานตามความจำเป็นของการดำเนินชีวิตไปสู่ความต้องการขั้นสูงสุด จนถึงขั้นที่สามารถเข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าตระหนักรู้ในตนเองและชีวิตอย่างถ่องแท้ ด้วยการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2) หลักมงคลสูตรเป็นสูตรสำเร็จที่เกื้อหนุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติ 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนากาย ได้แก่ มงคลที่ 1-18 การพัฒนาจิตใจ ได้แก่ มงคลที่ 19-30 และการพัฒนาปัญญา ได้แก่ มงคลที่ 31-38 3) การนำเสนอการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักมงคลสูตรเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการนำองค์ความรู้ทฤษฎีมาสโลว์มาบูรณการร่วมกับหลักมงคลสูตร เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์จนถึงขั้นสูงสุด ได้แก่ การพัฒนากายภาพเป็นรากฐานทำให้เกิดความเจริญงอกงามทางจิตภาพ การพัฒนาจิตภาพจะเป็นกำลังรักษาสืบต่อกายภาพที่ดีงาม และการพัฒนาปัญญาจะส่งผลย้อนกลับมากำกับเกื้อหนุนพัฒนากายภาพและจิตภาพ โดยมุ่งหวังผลทำให้มนุษย์เกิดความตระหนักรู้หลักการ วิธีการ และแรงจูงใจในการบรรลสู่เป้าหมาย คือประโยชน์สุข 3 ระดับ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นวงจรวิถีชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. แนวคิดปรัชญาประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แพร่วิทยา, 2535.
จุทาทิพย์ อุมวิชนี และคณะ. แนวปรัชญาตะวันตก ฉบับ “สรรนิพนธ์”.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
ท.เตชปุญโญ, มรดกธรรมสู่การตื่นรู้ เพียงแค่หยุดคิด ชีวิตก็พลิกผัน. กรุงเทพมหานคร: ปราชญ์ สำนักพิมพ์ในเครือบริษัท เพชรประกายจำกัด, 2561.
พระธรรมวิสุทธิกวี. อุดมมงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2548.
พระราชปริยัติ (สฤษดิ์ สิริธโร). แนวคิดการจัดระเบียบสังคมเชิงพุทธ. พุทธอุทธยานวิชาการ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565. ไหมไทย ไชยพันธุ์. การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.