การบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาในการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชา บ้านทุ่งเจริญ ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
พระธรรมวชิราจารย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชาของบ้านทุ่งเจริญ ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาในการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชาของบ้านทุ่งเจริญ ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชาในตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Participation Action Research) และรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชาของบ้านทุ่งเจริญ ตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีขั้นตอนคือ สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน จัดทำแผนเพื่อพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชา จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชา ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ การบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาในการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชา เป็นการบูรณาการ ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาร่วมกับศาสตร์พระราชาด้านการพึ่งตนเอง และการดำเนินชีวิตภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งปัจจุบันชุมชนได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพบนพื้นฐานของศาสตร์พระราชา ประกอบด้วย การทำการเกษตรอินทรีย์ การทำโครงการโคกหนองนา ขณะเดียวกันก็มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้นำชุมชนและเจ้าอาวาส การเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชนตามศาสตร์พระราชา ชุมชนได้ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม 2) ชุมชนบ้านหนองคู อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 3) โครงการโคกหนองนา บ้านกระโพธิ์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ และ 4) ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ บ้านหนองบอน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างเครือข่ายระหว่างคนในชุมชนด้วยการรวมตัวกันของคนในชุมชน เช่น การมีวิสาหกิจชุมชน การมีชมรมผู้สูงอายุ และการสร้างไลน์กลุ่มขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นของคนที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนในเรื่องต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

บรรพต วีรสัยและคณะ. “พระสงฆ์กับสังคมไทยโดยพิจารณาในเชิงสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง: กรณีศึกษาวัดในกรุงเทพมหานครและฉะเชิงเทรา”. รายงานการวิจัยกรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2532.

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. ระบบการศึกษากับชุมชน: กรอบความคิดและข้อเสนอเพื่อการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : แปลน พริ้นติ้ง, 2540.